วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ย่อ พ.ร.บ.ตำรวจ ก่อนสอบ

ย่อ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ
โดย

๑ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๔ ก.พ.๒๕๔๗ มีผลบังคับใช้ตาม ม.๒ วันที่ ๑๕ ก.พ.๒๕๔๗ มี ๑๒๘ มาตรา สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

๒.พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ของตำรวจ ระเบียบข้าราชการตำรวจ การแบ่งส่วนราชการ การกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคลเช่น การบรรจุ แต่งตั้ง ยศ ตำแหน่ง วินัยตำรวจ เครื่องแบบ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องยกเลิกกฎหมายที่เคยออกบังคับใช้จำนวน ๑๗ ฉบับตาม ม.๓
๓.ข้าราชการตำรวจมี ๒ ประเภท (๑)บรรจุแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.นี้รับเงินเดือนงบประมาณหมวดเงินเดือนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (๒)ข้าราชการตำรวจที่รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหิกิจหรือหน่วยงานรัฐอื่น และยังแบ่งเป็นแบบมียศและไม่มียศตาม ม.๘ แต่ต้องตราเป็น พ.ร.ฎ.
๔.ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้คือนายกรัฐมนตรี ออกกฎกระทรวงบังคับได้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๕.สตช.เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี เป็นนิติบุคคล
๖.พันธกิจของ สตช.ถูกกำหนดโดย ม.๖ ว่าให้มีอำนาจและหน้าที่ ๗ ข้อ คือ (๑)รปภ.พระมหากษัตริย์ฯ (๒)ควบคุมกำกับข้าราชการตำรวจปฏิบัติตาม ป.วิ อาญา (๓)ป้องกันปราบปรามการทำผิดทางอาญา(๔)รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยและความมั่นคง (๕)ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ (๖)พัฒนาประเทศชาติ (๗)อื่นๆเพื่อให้ข้อ (๑)-(๖)บรรลุผล
๗.ม.๖ วรรค ๒ การโอนอำนาจหน้าที่ตามข้อ (๓)-(๕)ให้เป็นอำนาจหน้าที่หน่วยงานอื่นต้องตราเป็น พ.ร.ฎ.พนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นนั้นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พงส.หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม ป.วิ อาญา
๘.การให้ประชาชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยต้องเป็นไปตามกฎ ก.ต.ช.
๙.ม.๙ ให้อำนาจ ก.ต.ช.กำหนดวันเวลาปฏิบัติงานของตำรวจแตกต่างจากที่ ค.ร.ม.กำหนดก็ได้
๑๐.ก.ต.ช. หรือคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ เป็นองค์กรทำน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ
๑๑. ก.ตร.หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริงานบุคคล
๑๒.สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีส่วนราชการแบ่งเป็นสองส่วนคือ (๑)สน.ผบ.ตร. (๒)กองบัญชาการ การจัดตั้งและการกำหนดอำนาจหน้าที่ตราเป็น พ.ร.ฎ.ส่วนราชการระดับ กองบังคับการหรือส่วนอื่นออกเป็นกฎกระทรวง
๑๓.ผบ.ตร.เป็น หน.ส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ๔ ประการตาม ม.๑๑ 
๑๔.ระดับกองบัญชาการ มี ผบช.เป็น หน.ส่วนราชการขึ้นบังคับบัญชาต่อ ผบ.ตร. มีอำนาจหน้าที่ ๕ ประการตาม ม.๑๔
๑๕.ก.ต.ช.ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
(๒)กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน ๖ คน คือ รมว.มท.,รมว.ยธ.,ป.มท.,ป.ยธ.,เลขา สมช.,ผบ.ตร.
(๓)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน ซึ่งผ่านการโปรดเกล้าและการสรรหาจาก (๑)และ(๒)ตามระเบียบ ก.ต.ช.และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) เลขานุการประธานแต่งตั้งตามคำแนะนำของ ผบ.ตร.จากตำรวจยศ พล.ต.ท.๑ นายและผู้ช่วยเลขานุกการ ไม่เกิน๒ นาย มียศ พล.ต.ต.
๑๖.อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช.ตาม ม.๑๖ และ ม.๑๘ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตาม ม.๑๘(๓)พิจารณาคัดเลือก ผบ.ตร.ตามที่ นายกรัฐมนตรีเสนอ
๑๗.กรรมการ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารจัดการ นอกจากนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ม.๑๘ จำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ไม่เป็น สส.,สว.หรือตำแนห่งทางการเมืองหรือตำแหน่งในพรรคการเมือง ไม่ล้มละลาย ไม่เคยต้องโทษจำคุก(ถึงที่สุดให้จำคุก เว้นประมาทและลหุโทษ),ไม่เป็นผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการใน หจก.หรือบ.และไม่เคยถูกพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติ
๑๘.วาระ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ ปี ติดต่อกันเกิน ๒ วาระไม่ได้ เมื่อครบวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าคนใหม่จะมารับตำแหน่ง การพ้นตำแหน่งเมื่อครบวาระแล้วยังพ้นตำแหน่งเมื่อตาย , อายุครบ ๗๐ ปี,ลาออก,ขาดคุณสมบัติ,ประพฤติเสื่อมเสียถูกให้ออกโดยมติ ก.ต.ช.๒ใน ๓ส่วนขึ้นไป แต่หากได้รับการแต่งตั้งแทนก็อยู่ในวาระได้เท่าเวลาที่เหลือของผู้ที่แทน
๑๙.การประชุมกรรมการ ก.ต.ช.ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะครบองค์ประชุม
๒๐.ยศ จากสูงไปหาต่ำจำนวน ๑๔ ชั้นยศ คือ พล.ต.อ. ถึง สิบตำรวจตรี
๒๑.ชั้นของข้าราชการตำรวจมี ๓ ชั้น คือ (๑)ชั้นสัญญาบัติ ยศ ร.ต.ต. ถึง พล.ต.อ. (๒)ชั้นประทวน ยศ ส.ต.ต.ถึง ด.ต. (๓)ชั้นพลตำรวจ คือ พลตำรวจสำรอง(รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาของตำรวจ)
๒๒.แต่งตั้งยศชั้นสัญญาบัตร เป็นพระบรมราชโองการ แต่ระหว่างรอแต่งตั้งว่าที่ยศได้คือ (๑)พล.ต.ต.ขึ้นไปอำนาจของนายกรัฐมนตรี (๒)ร.ต.ต.ขึ้นไปไม่สูงกว่า พ.ต.อ.อำนาจ ผบ.ตร. (๓)ชั้นประทวน ผบ.ตร.หรือ ผบช.ที่ผบ.ตร.มอบหมายตาม กฎ ก.ตร.
๒๓.การถอดยศสัญญาบัตร เป็นไปตามระเบียบ ตร.และกระทำโดยพระบรมราชโองการ
๒๔.ก.ตร.มีนายกเป็นประธาน มี 
(๑)กรรมการโดยตำแหน่ง มี เลขา ก.พ.,ผบ.ตร.,จต.,รอง ผบ.ตร.ทุกนาย 
(๒)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากการคัดเลือกตาม ม.๓๕ และทรงโปรดเกล้าจำนวน ๑๑ คน แยกเป็น
(๒.๑)เคยรับราชการตำรวจระดับ ผบช.หรือเทียบเท่าขึ้นไปแต่พ้นตำแหน่งเกิน ๑ ปีแล้วจำนวน ๕ คน 
(๒.๒)ไม่เป็นข้าราชการตำรวจเชี่ยวชาญสาขานิติศาสตร์,รัฐศาสตร์,อาชญาวิทยา,สาขาไม่เกิน ๑ คน(เคยเป็นข้าราชการตำรวจก็ได้แต่ต้องพ้นราชการตำรวจไปเกิน ๑๐ อายุไม่เกิน ๖๕ ปี ไม่เกิน ๑ คน) (๓)ผบช.ก.ตร.เป็นเลขานุการ รอง ผบช.ก.ตร.เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
๒๕. ก.ตร.มีอำนาจหน้าที่ ๑๐ ประการตาม ม.๓๑
๒๖.กฎ ก.ตร.มีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒๗.ม.๓๕ ผู้เลือก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยดำรงตำแหน่ง ผบช.ขึ้นไป คือข้าราชการตำรวจตำแหน่ง ผกก.หรือเทียบเท่าขึ้นไป นอกนั้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒเป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอ ครม.อนุมัติแล้วนำกราบบังคมทูลโปรดเกล้าแต่งตั้ง
๒๘.กรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระ ๔ ปี และได้เพียงวาระเดียว การพ้นจากตำแหน่งนอกจากครบวาระแล้วอย่างอื่นเช่นเดียวกับกรรมการ ก.ต.ช. แต่กรณีกรามการผู้ทรงคุณวุฒิประเภทแรกพ้นจากตำแหน่งเสียก่อนครบวาระให้เลื่อนตำแหน่งผู้ได้ลำดับคะแนนถัดไปเป็นแทนอยู่เท่าเวลาที่เหลืออยู่
๒๙.การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องดำเนินการเลือกก่อนครบวาระ ๖๐ วัน
๓๐.ตำแหน่งข้าราชการตำรวจมี ๑๓ ตำแหน่งตาม ม.๔๔ ตั้งแต่ ผบ.ตร.ลงไปจนถึง รอง ผบ.หมู่ หากจะเรียกชื่ออย่างอื่นออกเป็นกฎ ก.ตร.
๓๑.การที่ส่วนราชการใดของ ตร.จะมีตำแหน่งใดบ้าง จำนวนเท่าใดเป็นไปตามที่ ก.ตร.กำหนด แต่ในตำแหน่ง ผบก.ขึ้นไปต้องผ่านความเห็นชอบของ ก.ตร.เสียก่อน
๓๒.คุณสมบัติทั่งไปของบุคคลที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจตาม ม.๔๘ คือสัญชาติไทยโดยการเกิด,อายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี,เลื่อมใสประชาธิปไตย,ไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองและคุณสมบัติอื่น ตามกฎ ก.ตร.
๓๓.การแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงชั้นยศตาม ม.๕๑ เช่น
(๑)ตำแหน่ง ผบก.ขึ้นไปต้องผ่านการโปรดเกล้า
(๒)ตำแหน่ง ผบ.ตร.จากยศ พล.ต.อ.,จต.หรือรอง ผบ.ตร.จาก พล.ต.ท.หรือพล.ต.อ.,ผู้ช่วย ผบ.ตร.จาก พล.ต.ท.,ผบช.จาก พล.ต.ต.หรือ พล.ต.ท. เป็นต้น
๓๔.การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกรายชื่อแล้วเสนอ ก.ต.ช. เมื่อผ่านการเห็นชอบ จึงนำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลโปรดเกล้าแต่งตั้ง ตำแหน่งอื่นเป็นไปตาม ม.๕๓-๕๗
๓๕.การบรรจุข้าราชการตำรวจชั้น พลตำรวจ,ชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรจากการสอบแข่งขันต้องมีการทดลองปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า ๖ เดือน หากถูกให้ออกระหว่างทดลองให้ถือว่าไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อนแต่ไม่กระทบงานที่ปฏิบัติไปแล้วหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด
๓๖.การโอนข้าราชการตำรวจไปส่วนราชการอื่น เจ้าตัวต้องสมัครใจ หน่วยงานใหม่ต้องการรับโอนโดยทำการตกลงกับ ตร.
๓๗.ข้าราชการตำรวจที่รับเงินเดือน ส.๖.๗.๘ เมื่อ ผบ.ตร.สั่งเลื่อนเงินเดือนจะมีผลต่อเมื่อ ก.ตร.เห็นชอบแล้ว
๓๘.การเลื่อนเงินเดือนเกิน ๒ ขั้นในปีงบประมาณทำได้ต้องได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเป็นรายๆไปจาก ก.ตร.หากตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจะเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการรับบำเหน็จบำนาญ ก.ตร.เป็นผู้พิจารณาเลื่อน
๓๙.เงินเดือนข้าราชการตำรวจ (๑) ผบ.ตร.รับส.๙ (๒)พล.ต.อ.รับ ส.๘ (๓)พล.ต.ท.รับ ส.๗ (๔)พล.ต.ต.รับ ส.๖ (๕) พ.ต.อ.(พิเศษ) รับ ส.๕ (๖) พ.ต.อ.รับ ส.๔ (๗)พ.ต.ท. รับ ส.๓ (๘)พ.ต.ต.รับ ส.๒ (๙) ร.ต.ต.-ร.ต.อ.รับ ส.๑(๑๐) ด.ต.รับ ป.๓ (๑๒)จ.ส.ต.รับ ป.๒ (๑๓)ส.ต.ต.-จ.ส.ต.รับ ป.๑
๔๐.การสั่งให้รักษาราชการแทนในกรณีตำแหน่งว่างลงหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ผู้มีอำนาจสั่งคือ (๑)นายกรัฐมนตรี สำหรับตำแหน่ง ผบ.ตร. (๒) ผบ.ตร.สำหรับตำแหน่ง จต.หรือ รอง ผบ.ตร.ลงมา (๓) ผบช.สำหรับตำแหน่ง ผบก.ลงมาในส่วนราชการนั้น (๔) ผบก.สำหรับตำแหน่ง ผกก.ลงมาในส่วนราชการนั้น
๔๑.ม.๗๗ ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. รักษาวินัย และจรรยาบรรณในกฎ ก.ตร.(มีผลเมื่อพ้น ๖๐ วันนับแต่ประกาศในราชกิจจาฯ)
๔๒.ม.๗๘ การทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงคือการไม่รักษาวินัยตามข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติดังนี้จำนวน ๑๘ข้อ
-ไม่ปฏิบัติหน้าที่
- ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
- ไม่เคารพผู้ใหญ่กับผู้น้อย
- ละทิ้งหน้าที่ราชการ
- ปฏิบัติราชการข้ามขั้น
- ไม่รักษาความลับ
- ต้องสุภาพ 
- กดขี่ ข่มเหงประชาชน
- ไม่รักษาผลประโยชน์ราชการ
- ไม่สามัคคี
- รายงานเท็จ
- ประพฤติตนไม่สมควร
- ประพฤติชั่ว
- บังคับผู้บังคับบัญชาให้เสียแบบแผน
- ละเว้นกระทำให้เสียหายทางราชการ
- ยอมให้ผู้อื่นหาผลประโยชน์อันทำให้เสียความเที่ยงธรรม
- เป็นกรรมการผู้จัดการ หจก.หรือกรรมการใน บ.
- ไม่ทำตาม กฎ ก.ตร.
๔๓.ม.๗๙ การทำผิดวินัยร้ายแรง ๗ ประการคือ
- ปฏิบัติ/ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
- ละทิ้งหน้าที่จนเสียหาย/15 วัน
- กดขี่ ข่มเหงประชาชน
- ถูกจำคุก เว้นประมาท ลหุโทษ
- ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
- ผิดวินัยไม่ร้ายแรงตาม ม.๗๘ จนเสียหายต่อราชการอย่างร้ายแรง
- ไม่กระทำตาม กฎ ก.ตร. 
๔๔.ม.๘๒ โทษทางวินัยมี ๗ สถานคือ ภาคทัณฑ์
- ทัณฑกรรม
- กักยาม
- กักขัง
- ตัดเงินเดือน
- ปลดออก
- ไล่ออก
๔๕.โทษทัณฑกรรมคือการให้ทำงานโยธาหรืออยู่เวรยามวันละไม่เกิน ๖ ชม. หากโทษกักยามหรือกักขังใช้งานโยธาอื่นก็ได้แต่วันละไม่เกิน ๖ ชม.
๔๖.การลงโทษต้องทำเป็นคำสั่งระบุความผิดกรณีใดและมาตราใด
๔๗.ผู้บังคับบัญชาจะสืบสวนข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำผิดวินัยหรือไม่จากสาเหตุ (๑)การกล่าวหา (๒)มีเหตุสงสัยว่าข้าราชการตำรวจทำผิดวินัย โดยแจ้งเรื่องผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกร้องเรียนทราบและชี้แจงในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่มีมูลก็ยุติเรื่องถ้ามีมูลก็ดำเนินการตาม ม.๘๕และ๘๖
๔๘.การสืบข้อเท็จจริงหากเห็นว่าผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ลงโทษได้คือทัณฑกรรม กักยาม
กักขังหรือ ตัดเงินเดือน แต่ถ้าผิดวินัยร้ายแรงก็ให้ตั้งกรรมการสอบสวน
๔๙.ระหว่างสอบสวนทางวินัย มีเหตุจำเป็นผู้บังคับบัญชาจะกักตัวผู้นั้นไว้ได้เท่าอำนาจลงโทษกักขังแต่ไม่เกิน ๑๕ วัน
๕๐.ผิดวินัยร้ายแรงลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หากมีเหตุลดหย่อนโทษนำมาประกอบพิจารณาได้แต่ลงโทษต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
๕๑.โทษปลดออกยังได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนหนึ่งการลาออกจากราชการ
๕๒.ม.๙๓ ผู้สืบสวน กรรมการสืบสวน กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา กรรมการสอบสวนมีอำนาจเช่นเดียวกับ พงส.ตาม ป.วิ อาญา
๕๓.ม.๙๔ ข้าราชการตำรวจที่สอบสวนวินัยร้ายแรง หรือถูกชี้มูล ตาม กฎหมาย ปปช.แม้ต่อมาออกจากราชการก็ยังสอบสวนต่อไปได้แต่ต้อเสร็จใน ๑ ปี นับแต่ออกจากราชการ
๕๔.ข้าราชการตำรวจที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนทางวินัยออกจากราชการไปก่อนจะทำการสืบสวนหรือสอบสวน หากเข้ารับราชการใหม่ภายใน ๕ ปี ผู้มีอำนาจสั่งสืบสวนหรือสอบสวนวินัยต่อไปได้(เสมือนเป็นเรื่องอายุความในคดีวินัย)
๕๕.ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ ๕ ประการคือตาย,พ้นราชการตาม กม.บำเหน็จบำนาญ,รับอนุญาตให้ลาออก,ถูกสั่งให้ออก,ถูกลงโทษหลดออกหรือไล่ออก
๕๖.การลาออกจากราชการให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนชั้นหนึ่งผู้บังคับบัญชาตาม ม.๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามระเบียบของ ก.ตร. เป็นผู้อนุญาต ยับนั้งได้ไม่เกิน ๓ เดือน แต่การลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง,สมัคร สส.สว.สมาชิกสภาท้องถิ่น มีผลทันที่เมื่อยื่น
๕๗.ข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาหรือมีเหตุสงสัยว่าหย่อนความสามารถ บกพร่องหรือประพฤติตัวไม่เหมาะสมผู้บังคับบัญชาระดับ ผกก.ขึ้นไปเห็นว่าอยู่ไปก็จะเสียหายแก่ราชการ ตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้ เช่นเดียวกับกรณีถูกจำคุกเพราะเหตุประมาทหรือลหุโทษหากรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ทางราชการ
๕๘.การจากราชการตาม ม.๙๗ในตำแหน่ง ผบก.ขึ้นไปให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบส่วนระดับ รอง ผบ.ตร.ขึ้นไปมีพระบรมราชโองการเว้นแต่การออกเพราะตาย
๕๙.การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยให้อุทธรณ์ใน ๓๐ วัน นับแต่ทราบคำสั่ง โดยการพิจารณาอุทธรณ์ต้อแล้วเสร็จภายใน ๒๔๐วัน นับแต่ได้รับอุทธรณ์(ขยายได้สองครั้งครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน)
(๑)ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือนให้อุทธรณ์ต่อผู้สั่งลงโทษแต่ถ้า ผบ.ตร.สั่งอุทธรณ์ต่อ ก.ตร.
(๒)คำสั่งปลดออก หรือไล่ออก อุทธรณ์ต่อ ก.ตร.
๖๐.การร้องทุกข์กรณีเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายหรือปฏิบัติโดยไม่ชอบต่อตน ให้ปฏิบัติตามกฎ ก.ตร.
๖๑.ลักษณะ ชนิด ประเภทเครื่องแบบเป็นไปตามกฎกระทรวง
๖๒.แต่งเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิโทษจำคุก ๓ เดือนถึง ๕ ปีหากทำผิดในเขตประกาศภาวะฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือเพื่อทำผิดอาญาโทษจำคุก ๑ ปีถึง ๑๐ ปี แต่ถ้าเป็นตำรวจแต่งเครื่องแบบไปกระทำผิดอาญาข้อหาที่มีโทษจำคุก ๑ ปี ขึ้นไป ระวางโทษจำคุก ๑ ปีถึง ๗ ปี
๖๓.ผู้แต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจ และกระทำการให้ราชการตำรวจถูกดูหมิ่น เกลียดชังหรือเสื่อมเสีย หรือให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นตำรวจ โทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน (เว้นแต่กรณีแสดงภาพยนต์ ละครไม่เป็นความผิด แต่ต้องแจ้งให้ หน.สภ.ทราบก่อน)
สรุป ผิดตาม ม.นี้คือการกระทำข้อใดข้อหนึ่งใน ๒ ประการนี้
(๑) แต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจโดยกระทำให้ราชการตำรวจถูกดูหมื่น ถูกเกลียดชัง หรือเกิดความเสื่อมเสีย
(๒) แต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจ และให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นตำรวจ ยกเว้นการแสดงภาพยนต์หรือละคร
๖๔.ให้มีการจัดตั้งกองทุนสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเพื่อสนับสนุนงานสืบสวนและงานสอบสวน โดยเงินกองทุนได้มาจากเงินอุดหนุนรัฐบาล,เงิน,ทรัพย์สินที่ได้รับจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และดอกผล(ไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน)และครม.อาจมีมติอนุมัติให้นำเงินค่าปรับอาญา,จราจรส่วนที่นำส่งรายได้แผ่นดินเข้ากองทุนได้
๖๕.คณะกรรมการบริหารกองทุนฯมี ผบ.ตร.เป็นประธานฯ กรรมการมีผู้แทนปลัดสำนักนายกฯ,ผู้แทนอัยการสูงสุด,ผู้แทน ยธ.,ผู้แทนสำนักงบฯ,ผู้แทนกรมบัญชีกลาง,ผู้แทนกรมส่งเสิรม ปถ.และ รอง ผบ.ตร.รับมอบหมายจำนวน ๒ นาย(รวมประธานเป็น ๙ คน ประธานแต่งตั้งเลขานุการ ๑ นายและผู้ช่วยเลขาฯไม่เกิน ๒ นายจากข้าราชการตำรวจ)
๖๖.อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุน ๘ ข้อ ตาม ม.๑๑๖
๖๗.ทำงบการเงินบัญชีใน ๑๒๐ วันนับแต่สิ้นปีปฏิทิน ส.ต.ง.เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานต่อ ก.ต.ช.และ กค.
.............................................................
รายนามคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.)ปัจจุบัน

กรรมการโดยตำแหน่ง
1. นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ) ประธานกรรมการ 
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล) กรรมการ 
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) กรรมการ 
4. ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายมานิต วัฒนเสน) กรรมการ 
5. ปลัดกระทรวงยุติธรรม(นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์) กรรมการ 
6. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายถวิล เปลี่ยนศรี) กรรมการ 
7. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กรรมการ 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
1. นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย 
2. พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวางแผนหรือการบริหารและจัดการ 
3. นายสุภา ปิยะจิตติ 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ 
4. นายนภดล อินนา 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาองค์กร 
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
1. พล.ต.ท. ปรุง บุญผดุง ผู้ช่วยผบ.ตร.(กศ) /เลขานุการ ก.ต.ช 
2. พล.ต.ท.พรชัย พันธุ์วัฒนา ผบช.ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ / ผู้ช่วยเลขานุการ
3. พล.ต.ต.จิโรจน์ ไชยชิต รอง ผบช.ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ / ผู้ช่วยเลขานุการ 

หน้าที่คณะกรรมการ ก.ต.ช. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายนอกจากอำนาจหน้าที่ข้างต้นแล้ว ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ด้วย
1. ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด
2. เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๖ วรรคสอง
3. พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
4. กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย
6. ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมาย 
ในการนี้ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร จังหวัด และสถานีตำรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ
ในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป 
องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของ 
ก.ต.ช. ระเบียบหรือประกาศตาม (๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ข้อมูลโดย
พ.ต.อ.สมศักดิ์ ณ โมรา






1 ความคิดเห็น: