วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ที่มา

http://www.chonburi33.com/new/index.php?PHPSESSID=to1n9ia6u0va9j6u85j1p4hd35&board=6.0

สรุป พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

สรุป พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

พรบ.ตำรวจแห่งชาติ

ชื่อ.......................................................พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้ไว้ ณ วันที่......................................๑๓  มกราคม   ๒๕๔๗
เป็นปีที่................................................๕๙  ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยคำแนะนำและยินยอมของ............รัฐสภา
วันใช้บังคับ.........................................ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                                            (ประกาศ  ๑๔  ก.พ.  ๒๕๔๗)
ยกเลิก..................................................กฎหมาย  ๑๗  ฉบับ
ข้าราชการตำรวจ.................................บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พรบ.นี้ โดยได้รับ                                                                    เงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนใน สตช.  และหมายรวมถึงข้าราชการใน สตช. ซึ่ง สตช. แต่งตั้ง หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ประธานกรรมการหมายถึง...................ประธาน ก.ต.ช.
กรรมการหมายถึง.................................ก.ต.ช.
กองทุนหมายถึง....................................กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
กองบัญชาการ......................................รวมถึงส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกอง         บัญชาการด้วย
กองบังคับการ...................................รวมถึงส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย
ผู้รักษาการตาม พรบ.นี้........................นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี.....................................มีอำนาจออกกฎกระทรวง  เพื่อปฏิบัติตาม  พรบ.นี้
กฎกระทรวงที่ออกตาม  พรบ.นี้..........เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

                              ลักษณะที่ ๑ บททั่วไป

สตช. อยู่ในบังคับบัญชาของ...............นายกรัฐมนตรี
สตช. มีอำนาจหน้าที่...........................
(๑)รักษา   
(๒)ดูแลควบคุม วิ อาญา   
(๓)ป้องกัน อาญา 
(๔)เรียบร้อย/ปลอดภัย/มั่นคง 
(๕)อื่น 
(๖)ช่วยเหลือ(นายก) 
(๗)ส่งเสริมสนับสนุน (๑),(๒),(๓),(๔),(๕)
การที่จะโอนอำนาจหน้าที่ตาม (๓) (๔) (๕) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่น.....................ให้ตราเป็น  พรฎ. และให้ถือว่า พนง.เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  พงส.  ปค.หรือ ตร.ผู้ใหญ่  ตาม วิ อาญา
ให้ สตช. .............................................ส่งเสริมท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วม รปภ.ปชช. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.ต.ช.  กำหนด
ให้แบ่งตำรวจเป็นประเภทที่ไม่มียศได้.............โดยให้ตราเป็น  พรฎ.
พรฏ.ที่เกี่ยวกับตำรวจไม่มียศ............................ไม่มีผลกระทบฐานะของตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่ พรฎ. มีผลบังคับใช้
วัน เวลาทำงาน วันหยุด การลาหยุด...................ให้เป็นไปตามที่คณะรัมนตรีกำหนด
ในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่..........ก.ต.ช. จะกำหนดให้แตกต่างไปจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้
                                                     ลักษณะที่ ๒ การจัดระเบียบราชการใน สตช.

สตช. แบ่งส่วนราชการเป็น....................................
   (๑)  สนง.ผบ.ตร. 
   (๒) กองบัญชาการ
การแบ่งส่วนราชการตาม(๑) เป็นกองบัญชาการ หรือการจัดตั้งกองบัญชาการ........ให้ตราเป็น พรฎ.
การแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น...........ให้ออกเป็น กฎกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการ สตช. คือ....................ผบ.ตร.
ผบ.ตร.มีอำนาจหน้าที่.................................
   (๑)รับผิดชอบควบคุม ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางที่ นายก และ ก.ต.ช. กำหนด 
   (๒)เป็นผู้บังคับบัญชาของ ตร.  รองจากนายก 
   (๓)รับผิดชอบ 
   (๔)วางระเบียบ ตาม กม.วิ หรือ กม.อื่น
ให้จเรตำรวจแห่งชาติ ,รอง ผบ.ตร. ,ผู้ช่วย ผบ.ตร..........เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจรองจาก ผบ.ตร. ตามที่ ผบ.ตร.กำหนดหรือมอบหมาย
ในกองบัญชาการ.........................ให้มีผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชา และจะให้มี รอง ผบช.ก็ได้
ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ.............
   (๑)บริหารให้เป็นตามประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช. 
   (๒)ควบคุม ให้เป็นตามประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช. 
   (๓)เป็นผู้แทน ของ สตช. 
   (๔)รายงานผลการปฏิบัติต่อ ผบ.ตร.ทุก  ๔  เดือน หรือตามระยะที่  ผบ.ตร.กำหนด 
   (๕)หน้าที่อื่น ตาม กม. ระเบียบ บังคับ ประกาศของทางราชการ /  ก.ต.ช.  /  ก.ตร.  และ  สตช.
ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ บังคับ คำสั่ง มติ ครม. กำหนดให้เป็นอำนาจของอธิบดี หรือผบ.ตร....................................ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นนั้นในฐานะอธิบดี หรือ แทนผบ.ตร.ในส่วนกองบัญชาการ ตาม ก.ต.ช. กำหนด
ผู้บังคับการมีอำนาจและหน้าที่..............................
   (๑)บริหาร
   (๒)ควบคุม
   (๓)หน้าที่อื่น
ผู้บังคับการให้มีอำนาจสั่งการหรือยับยั้งการกระทำใดๆที่เห็นว่าไม่ชอบของข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ.....................แล้วรายงาน สตช. และ บช. ตามหลักเกณฑ์ที่ สตช.กำหนด

ลักษณะที่ ๓ ก.ต.ช.

ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่...........กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ  และกำกับดูแล สตช. ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ มติ ครม. และ กฎหมาย
ก.ต.ช. ประกอบด้วย...............
   (๑) นายกเป็นประธาน   รมต.มท.  รมต.ยธ.  ปลัด มท.  ปลัด ยธ. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
   (๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ๔  คน ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯจากบุคคลซึ่งสรรหาโดยกรรมการตาม (๑)
เลขานุการ ก.ต.ช....................ให้ประธานแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศ   พล.ต.ท.  ขึ้นไปคนหนึ่ง  โดยคำแนะนำของ ผบ.ตร.
ผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช...................ให้ประธานแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศ  พล.ต.ต.ขึ้นไป ไม่เกิน ๒ คน โดยคำแนะนำของ ผบ.ตร.
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม (๒)......ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ต.ช.
รายชื่อ กรรมการ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ................ให้นายกประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย...................................
(๑)        ออกระเบียบ ให้เป็นไปตามที่ ก.ต.ช.  กำหนด (ประกาศในราชกิจจาฯ)
(๒)เสนอแนะให้มีการตรา  พรฏ.เรื่องการโอนอำนาจให้หน่วยงานอื่นปฏิบัติ
(๓)คัดเลือก เพื่อแต่งตั้ง  ผบ.ตร. ตามที่นายกเสนอ
(๔)กำหนดกระบวนการกระจายอำนาจ
(๕)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
(๖)ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย และให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ
(๗)ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตาม ครม.มอบหมาย หรือตามกฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่
ของ  ก.ต.ช.
กรรมการ ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมี......................ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านกฎหมาย    การงบประมาณ   การพัฒนาองค์กร  หรือการบริหารและจัดการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้.................(ม.๒๐)
     (๑)มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
     (๒)มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๔๐  ปี บริบูรณ์
     (๓)ไม่เป็น สส. สว. ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาข้าราชการการเมืองหรือที่ปรึกษา สส. หรือ สว.ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่
     (๔)ไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง
     (๕)ไม่เป็นคนไร้ความสามมารถ เสมือนไร้ความสามารถ   วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
     (๖)ไม่เป็นคนล้มละลาย
     (๗)ไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่ประมาทหรือลหุโทษ
     (๘)ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก  ให้ออกจากราชการ  หน่วยงานรัฐ  รัฐวิสาหกิจ
     (๙)ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
     (๑๐)ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ  ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่ง......................คราวละ  ๔  ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน  ๒  วาระติดต่อกันไม่ได้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากหน้าที่..................ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้วกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแน่งเมื่อ......................
         (๑)ตาย
         (๒)มีอายุครบ  ๗๐  ปีบริบูรณ์
         (๓)ขากคุณสมบัติตาม  ม.๒๐
         (๔)ก.ต.ช. มีมติ ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย
กรรมการผู้ทรงฯพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ดำเนินการสรรหาเว้นแต่.........วาระการดำรงตำแหน่งจะเหลือไม่ถึง   ๙๐  วัน  ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการสรรหาก็ได้
กรรมการผู้ทรงฯ............................ให้ดำรงตำแหน่งแทนเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
องค์ประชุม  ก.ต.ช...........................ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง
ถ้าประธานไม่มาหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้.........ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
ประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่ง..........จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
ก.ต.ช.  มีอำนาจ..................ออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ก.ต.ช. /คณะอนุกรรมการ  /  กรรมการ

ลักษณะที่ ๔  ยศและชั้นข้าราชการตำรวจ

ยศตำรวจมี................................. ๑๔ ลำดับ  (ส.ต.ต.  ถึง  พล.ต.อ.)
ชั้นข้าราชการตำรวจมี................... ๓ ชั้น  (๑)สัญญาบัตร  (๒)ประทวน  (๓)พลตำรวจ
การแต่งตั้งยศตำรวจสัญญาบัตร..........เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การแต่งตั้งยศตำรวจสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ.................อาจกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศสัญญาบัตรจะแต่งตั้งว่าที่ยศชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราว โดยให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้แต่งตั้ง............................
     (๑) ว่าที่ยศ  ร.ต.ต.   ถึง   พ.ต.อ.   ให้    ผบ.ตร.  เป็นผู้แต่งตั้ง
     (๒) ว่าที่ยศ  พล.ต.ต.  ขึ้นไป        ให้   นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน....................ให้ ผบ.ตร.หรือ ผู้บังคับบัญชาระดับ ผบช.ขึ้นไป ซึ่งได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร. เป็นผู้แต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์  ก.ตร.
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวนเป็นกรณีพิเศษ..............................ให้  ผบ.ตร. เป็นผู้แต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์ ก.ตร.
การถอด หรือ การออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร...........ให้เป็นไปตามระเบียบ  สตช. และโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การให้ออกจากว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร หรือการถอด หรือการออกจากยศตำรวจชั้นประทวน
ให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้............................
     (๑) ยศตำรวจชั้นประทวน            ให้    ผบ.ตร. หรือ  ผบช.  เป็นผู้สั่ง
     (๑) ว่าที่ยศ  ร.ต.ต.   ถึง   พ.ต.อ.   ให้    ผบ.ตร.  เป็นผู้สั่ง
    (๒) ว่าที่ยศ  พล.ต.ต.  ขึ้นไป        ให้   นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง
    สั่งได้ตามระเบียบ  สตช.

ลักษณะที่ ๕  ก.ตร.

ก.ตร.ประกอบด้วย..................
    (๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ , เลขาธิการ ก.พ. , ผบ.ตร. , จเรตำรวจแห่งชาติ , รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
    (๒) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งโปรดเกล้าแต่งตั้ง จากผุ้ซึ่งได้รับคัดเลือก
ก.ตร.ผู้ทรงฯ ประกอบด้วย..................(มาตรา ๓๐ (๒))
    (ก) ผู้ที่เคยรับราชการเป็นตำรวจในตำแหน่ง ผบช. หรือเทียบเท่า ขึ้นไป จำนวน  ๕  คน แต่ต้องพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน   ๑   ปี
    (ข) ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ  จำนวน  ๖  คน  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขา  นิติศาสตร์  รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์  อาชญาวิทยา  และงานยุติธรรม หรือ สาขาอื่นตามที่  ก.ตร.กำหนด  สาขาละ ไม่เกิน  ๑  คน
         เว้นแต่ถ้ามี รอง ผบ.ตร. เพิ่มขึ้น ก็ให้กรรมการผู้ทรงฯ เพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนของ รอง ผบ.ตร.
         บุคคลซึ่งเคยเป็นตำรวจ หากพ้นจากความเป็นตำรวจ เกิน  ๑๐  ปี และอายุไม่เกิน  ๖๕  ปี อาจได้รับการสรรหาเป็น  ก.ตร.ผู้ทรงได้ แต่ต้องไม่เกิน  ๑  คน
ตำแหน่งเลขานุการ ก.ตร........................ผบช. สนง.ก.ตร.
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ........................รอง ผบช. สนง.ก.ตร.
รายชื่อกรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงฯ.................ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก.ตร.มีอำนาจและหน้าที่..........................(ม.๓๑)
     (๑) กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคล
    (๒) ออกกฎ ก.ตร.
    (๓) กำกับดูแล และให้มีอำนาจออกระเบียบให้ สตช.รายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ  การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย  การออกจากราชการ
    (๔) รายงาน ครม.เพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ

    (๕) กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับ สำหรับวุฒิปริญญา
  (๖) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
   (๗) พิจารณาอนุมัติแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วันเดือนปีเกิด และควบคุมการเกษียณอายุ
   (๘) ในกรณีที่เห็นว่าการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  ของ  สตช. ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตาม  พรบ.นี้  ให้มีมติสั่งให้  สตช.ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้า สตช.ไม่ปฏิบัติตามให้รายงาน นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งต่อไป
   (๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
   (๑๐)ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.นี้ หรือกฎหมายอื่น
กฎ ก.ตร.บังคับได้ใช้เมื่อ.........................ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายให้ ก.ตร.ออกกฎกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง
กฎดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้เมื่อ.................... ๑๘๐ วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้.................(ม.๒๐)
     (๑)มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
     (๒)มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๔๐  ปี บริบูรณ์
     (๓)ไม่เป็น สส. สว. ข้าราชการการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาข้าราชการการเมืองหรือที่ปรึกษา สส. หรือ สว.ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่
     (๔)ไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง
     (๕)ไม่เป็นคนไร้ความสามมารถ เสมือนไร้ความสามารถ   วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
     (๖)ไม่เป็นคนล้มละลาย
     (๗)ไม่เคยได้รับโทษจำคุก เว้นแต่ประมาทหรือลหุโทษ
     (๘)ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก  ให้ออกจากราชการ  หน่วยงานรัฐ  รัฐวิสาหกิจ
     (๙)ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
     (๑๐)ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ  ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงฯ...........ให้ ก.ตร. เป็นผู้วินิจฉัย
ก.ตร. จะเป็นกรรมการใน  ก.ต.ช. ในขณะเดียวกันไม่ได้.............. ยกเว้นนายก และ ผบ.ตร.
การเลือก ก.ตร.ผู้ทรงฯให้ดำเนินการ ดังนี้............................................
(๑  การเลือก กรรมการผู้ทรงฯ ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก)(ผู้ซึ่งเคยรับราชการตำรวจในตำแหน่ง ผบช./เทียบเท่าขึ้นไป) ให้ ผกก. พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าเป็นผู้เลือก
(๒) การเลือก กรรมการผู้ทรงฯ ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ข)(ผู้ไม่เป็นข้าราขการตำรวจ) ให้ ก.ตร.โดยตำแหน่ง และ ก.ตร.ผู้ทรงตาม มาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือก แล้วเสนอไปยัง ครม. เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้วให้นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ พร้อมกับ ก.ตร.ผู้ทรงตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)
การเลือก ก.ตร.ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก) ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัคร แล้วจัดส่งบัญชีรายชื่อโดยเรียงตามลำดับตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่า.................๔๐  วัน
การเลือก ก.ตร.ตาม มาตรา ๓๐ (๒)(ก) ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีผู้ได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้สามารถเรียงลำดับผู้รับเลือกตามจำนวนได้..........................................
......ให้ประธาน ก.ตร.ทำการจับฉลาก
กรรมการ ก.ตร.ผู้ทรง ฯให้วาระการดำรงตำแหน่งได้คราวละ...........  ๔  ปี  วาระเดียว
ให้กรรมการ ก.ตร. ผู้ทรงฯซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ.................... ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงฯ ที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงฯ จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ...............................
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
(๒) ก.ตร.มีมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓  เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม
(๓) ตาย  /  มีอายุครบ ๗๐  ปีบริบูรณ์  /  ลาออก
(๔) สมัครรับเลือกตั้ง หรือได้รับแต่งตั้งเป็นคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณี ก.ตร.ผู้ทรงฯ ตามมาตรา ๓๐ (๒)(ก) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ......ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อในอันดับแรกเป็นกรรมการแทน และให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงฯตามมาตรา ๓๐(๒)(ข) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่าง หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง ๒ ปี ..........ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงฯจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระใหดำเนินการจัดให้มีการเลือกใหม่ภายในเวลา..................................ไม่เกิน  ๖๐  วัน ก่อนครบวาระ
องค์ประชุม ก.ตร....................ต้องมี ก.ตร.มาประชุมไม่น้อยกว่า  กึ่งหนึ่ง ของจำนวน ก.ตร.ทั้งหมด
ในกรณีที่ประธาน ก.ตร.ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้...........ให้กรรมการ ก.ตร.ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
การประชุม.............................ให้ประธาน ก.ตร.เป็นผู้เรียกประชุม  ในกรณีที่กรรมการ ก.ตร.ไม่น้อยกว่า  ๖  คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ เรียกประชุมภายใน  ๗  วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
ในกรณีที่  ก.ตร.มีหน้าที่ตาม  พรบ.นี้..............ให้ ผบ.ตร.เป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.ตร. แต่ไม่ตัดสิทธิ์กรรมการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ

ลักษณะที่ ๖  ระเบียบข้าราชการตำรวจ

ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง...............มีทั้งหมด  ๑๓  ตำแหน่ง ตั้งแต่ ผบ.ตร.  ถึง  รอง ผบ.หมู่ ที่น่าสังเกตุคือตำแหน่ง จเรตำรวจแห่งชาติ เทียบเท่ากับตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.
จะกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดย.............ก.ตร.เป็นผู้กำหนด ในกฎ ก.ตร.
การกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้มีเฉพาะเท่าที่จำเป็น..........เมื่อหมดความจำเป็นให้ยุบตำแหน่งนั้น
จะให้มีตำแหน่งใด เท่าใด คุณสมบัติอย่างใด จะมียศหรือไม่รวมตลอดถึงการตัดโอนจากส่วนราชการหนึ่งไปส่วนราชการหนึ่ง.....................ให้เป็นไปตามที่  ก.ตร.  กำหนด
การกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่  ผบก.  พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือเทียบเท่า ขึ้นไป..........................ต้องได้รับความเห็นชอบจาก   ก.ต.ช.  ก่อน
ให้ พงส. ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามระเบียบที่..................... ก.ตร. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
พงส. ให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ดังนี้....................................
(๑)พงส.  เมื่อดำรงตำแหน่งและได้รับเงินเดือนตามที่  ก.ตร.กำหนด อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ชำนาญการ (สว.)
(๒)พงส. ผู้ชำนาญการ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓  ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ  ส.๓  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ชำนาญการพิเศษ ( รอง ผกก.)
(๓)พงส. ผู้ชำนาญการพิเศษ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓  ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ ส.๔  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผกก.)
(๔)พงส. ผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓ ปี และได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของส.๕  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็น  พงส. ผู้เชี่ยวชาญ (รอง ผบก.)
(๕)พงส. ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า  ๓ ปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ ส.๖  อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้ว  พร้อมทั้งมีตำแหน่งว่าง  ให้ผู้นั้นเป็น   พงส.ผู้เชี่ยวชาญ       พิเศษ  (ผบก.)
การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งของ  พงส......................ให้นำปริมาณและคุณภาพของสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของ  ก.ตร.
การแต่งตั้ง  พงส. จะมีจำนวนเท่าใด มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาเพียงใด........................................ให้เป็นไปตามระเบียบของ  ก.ตร.
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจตาม พรบ.นี้..............ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กำหนดในระเบียบของ  ก.ตร.
การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร.................................ให้บรรจุจากบุคคลที่ได้รับคัดเลือก หรือสอบแข่งขันได้
ผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ...........ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง มีกำหนดไม่น้อยกว่า   ๖  เดือน
หลักเกณฑ์หรือวิธีการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน.........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ผู้ดำเนินการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน........... ผบ.ตร.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร.
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่ง ให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ดังนี้..................
     (๑)    ผบ.ตร. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก    ยศ   พล.ต.อ.
     (๒)  จเรตำรวจแห่งชาติ , รอง ผบ.ตร. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก   ยศ  พล.ต.ท. / พล.ต.อ.
     (๓)   ผช.ผบ.ตร.  โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก  ยศ  พล.ต.ท.
     (๔)   ผบช.   โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พล.ต.ต. / พล.ต.ท.
     (๕)   รอง ผบช. โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พล.ต.ต.
     (๖)   ผบก. และพงส.ผู้เชี่วชาญพิเศษ  โปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ยศ  พ.ต.อ.(พิเศษ) / พล.ต.ต.
     (๗)   รอง  ผบก. และพงส.ผู้เชี่ยวชาญ  แต่งตั้งจาก ยศ  พ.ต.อ.
     (๘)   ผกก. และพงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ  แต่งตั้งจาก  ยศ  พ.ต.ท. / พ.ต.อ.
     (๙)   รอง  ผกก. และพงส.ผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่งตั้งจาก  ยศ    พ.ต.ท.
     (๑๐)  สว. และพงส.ผู้ชำนาญการ   แต่งตั้งจาก  ยศ  ร.ต.อ. / พ.ต.ท.
     (๑๑)  รอง สว. และพงส.  แต่งตั้งจาก ยศ  ร.ต.ต. ขึ้นไปไม่สูงกว่า ร.ต.อ.
     (๑๒)  ผบ.หมู่  แต่งตั้งจาก  ยศ  ส.ต.ต. ขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่า ดาบตำรวจ
     (๑๓)  รอง  ผบ.หมู่  แต่งตั้งจาก  ชั้น พลตำรวจ
     ตำแหน่ง   ๒   ถึง  ๑๓  อาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าด้วยก็ได้

หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
ตำแหน่ง
ผบ.หมู่ หรือ รอง ผบ.หมู่ อาจได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รอง สว.และพนักงานสอบสวนได้.....................ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.
รอง ผบ.หมู่ อาจได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.หมู่ได้..........ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.

ผบ.ตร.

         นายก....คัดเลือกชื่อ – นำเสนอ.......กตช. (พิจารณา).......นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ


จเรตำรวจแห่งชาติ  ,รอง ผบ.ตร. (๒)
ผู้ช่วย ผบ.ตร. (๓)
ผบช. (๔)

         ผบ.ตร.......คัดเลือกชื่อ – นำเสนอ......ก.ตร. (พิจารณา)......นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ

รอง ผบช. (๕)
ผบก. (๖)
(ใน สนง.ผบ.ตร.)

ผบ.ตร....คัดเลือก(รับฟังข้อเสนอแนะจาก ผบช.ที่เกี่ยวข้อง..เสนอ....กตร.
                                                            (เห็นชอบ)........นายก.....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ

รอง ผบช. (๕)
ผบก. (๖)
(ที่ไม่สังกัด  สนง.ผบตร.)

ผบช....เสนอ.....ผบ.ตร.
เห็นว่า ยังไม่เหมาะสม....ทำความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะ และเหตุผล

เห็นว่า เหมาะสม................เสนอ....ก.ตร.(เห็นชอบ)....นายก....นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ




รอง ผบก. (ลงมา)

ใน สนง. ผบ.ตร.
               ผบ.ตร.....แต่งตั้ง...โดยที่
                                                                         ผบก.ที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอ
                                                                         และมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ
                                              * หากไม่เป็นที่ยุติ ให้.....ผบ.ตร.  ชี้ขาด
ไม่สังกัด  สนง. ผบ.ตร.
                ผบช...........แต่งตั้ง....โดยที่
                                                                           ผบก.ที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอ
                                                                           และมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ
                                                   *หากไม่เป็นที่ยุติ ให้.... ผบ.ตร.   ชี้ขาด


ผกก. (ลงมา)......ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิม

ใน  บช. ที่สังกัด  สนง.ผบ.ตร.
                      ผบช. .......แต่งตั้ง โดย รับฟังข้อเสนอแนะจาก  ผบก.ที่เกียวข้อง
ใน  บก. ที่สังกัด  สนง.ผบก.ตร.
              ผบก. .........แต่งตั้ง
....................................................

ใน  บช.  อื่น
                   ผบก. .........แต่งตั้ง









การแต่งตั้ง รอง ผบช. ลงมา จากส่วนราชการหนึ่ง ไปส่วนราชการหนึ่ง
รอง ผบช.
ผบก.
ระหว่าง  สนง.ผบ.ตร.   และ  บช.  อื่น
                         ผบ.ตร.  และ  ผบช. .........ตกลงกัน
                                ผบ.ตร. ....เสนอ....ก.ตร. .......นายก......นำความเพื่อโปรดเกล้าฯ
.........................................................
ระหว่าง  บช. อื่น
ผบช. ที่เกี่ยวข้อง........ตกลงกัน  ถ้า
ตกลงกันได้
ผบช.ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง.....เสนอ.....ผบ.ตร. .....เสนอ.....ก.ตร....นายก..นำความฯ
ตกลงกันไม่ได้
ผบ.ตร. , ผบช. ที่เกี่ยวข้อง......ทำความเห็นและข้อเสนอแนะ.....เสนอ......ก.ตร.


รอง ผบก. ลงมา

ระหว่าง  สนง. ผบ.ตร.   และ  บช.  อื่น
            ผบ.ตร.   และ  ผบช.ที่เกี่ยวข้อง.........ตกลงกัน
                    ผบ.ตร.  /  ผบช.
              ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง......เป็นผู้แต่งตั้ง
                   

ระหว่าง  บช.  อื่น
            ผบช. ที่เกี่ยวข้อง........ตกลงกัน
                                *ผบช.ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง...............เป็นผู้แต่งตั้ง

ในกรณีที่  ผบ.ตร. เห็นว่า
๑. การแต่งตั้งของ ผบช. ไม่เป็นธรรม
๒.ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่ ก.ตร. กำหนด
๓. กรณีต้องดำเนินการทางวินัย
๔. และมีความจำเป็น  ให้   รอง  ผบช. (ลงมา)
     - พ้นจากหน้าที่
     -พ้นจากพื้นที่
     -หรือมีเหตุพิเศษ ตามที่ ก.ตร. กำหนด    ให้
               ผบ.ตร.......แต่งตั้ง
             * โดยที่ในตำแหน่ง  รอง ผบช. และ ผบก. ผบ.ตร. ....เสนอ ก.ตร...เห็นชอบ

การสั่งให้ข้าราชการตำรวจ
๑.        สำรองราชการ
๒.        พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
ให้
๑.        นายก......เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง..................ผบ.ตร.
๒.        ผบ.ตร...เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง...................ตร. ทุกตำแหน่ง
๓.        ผบช.....เป็นผู้สั่ง สำหรับตำแหน่ง....................ตร. ใน บช. (หรือเทียบเท่า)
การโอนข้าราชการตำรวจไปรับราชการในส่วนราชการอื่น.............จะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้าตัวสมัครใจและส่วนราชการอื่นนั้นต้องการ


การสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน   ให้

                                                                            ส.๖
ผบ.ตร......เป็นผู้สั่ง สำหรับ ระดับ.                   ส.๗                   เมื่อ  ก.ตร. ..เห็นชอบ
                                                                            ส.๘
การเลื่อนขั้นเงินเดือนตั้งแต่ระดับ ส.๕ ลงมา..................ให้เป็นไปตามระเบียบ  ก.ตร.

การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกิน  ๒  ขั้น.... ต้องได้รับอนุมัติจาก  ก.ตร.เป็นพิเศษเฉพาะราย

ขั้นเงินเดือน

๑        พล.ต.อ. (ตำแหน่ง ผบ.ตร.)  ให้รับอัตราเงินเดือน.........................ส.๙
๒        พล.ต.อ..........................................................................................ส.๘
๓        พล.ต.ท..........................................................................................ส.๗
๔        พล.ต.ต...........................................................................................ส.๖
๕        พ.ต.อ.(พิเศษ)...............................................................................ส.๕
๖        พ.ต.อ............................................................................................ส.๔
๗        พ.ต.ท............................................................................................ส.๓
๘        พ.ต.ต............................................................................................ส.๒
๙        ร.ต.อ. ,ร.ต.ท. ,ร.ต.ต.....................................................................ส.๑
๑๐        ด.ต. ..............................................................................................ป.๓
๑๑        จ.ส.ต.(พิเศษ)................................................................................ป.๒
๑๒. จ.ส.ต. , ส.ต.อ. , ส.ต.ท. , ส.ต.ต...................................................ป.๑
๑๓. พลฯสำรอง...................................................................................พ.๑
    * ยศ  ๒  ถึง  ๑๓  ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าก็ได้โดยตราเป็น   กฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว...........ตามที่กำหนดในกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เงินเพิ่มอื่น.......ตามที่  ครม. กำหนด
ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ..............ตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ตร. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

การรักษาราชการแทน

              ผู้สั่ง                                                                                   ตำแหน่ง
๑.        นายกรัฐมนตรี...................................................................ผบ.ตร.
๒.        ผบ.ตร. ............................................................................. จเรตำรวจแห่งชาติ
                                                                                                        รอง ผบ.ตร.  หรือเทียบเท่าลงมา
๓.        ผบช. หรือเทียบเท่า.......................................................... ผบก.
                                                                                                 พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ลงมา)
                                                                ในส่วนราชการนั้น



๔.         ผบก. หรือเทียบเท่า......................................................... ผกก.
                                                                                                 พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ (ลงมา)
                                                                                                  ในส่วนราชการนั้น
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน....................ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรอง / ถ้าไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีตำแหน่งผู้ช่วย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย / ถ้ามีตำแหน่ง รองหลายคน ให้ผู้มีอาวุโส  / ถ้าไม่มีทั้ง รอง หรือผู้ช่วยหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีอาวุโส   เป็นผู้รักษาการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต อนุมัติ การดำเนินการด้านอื่นที่ ผบ.ตร.จะพึงปฏิบัติตามกฎหมายในกิจการของกองบัญชาการ...............ให้ ผบช.เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร.
ในการปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร...............ผบช.อาจมอบหมายให้ รอง ผบช.ปฏิบัติราชการแทก็ได้
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยนช์ของทางราขการหรือเพื่อระงับความเสียหายอันเกิดจากการใช้อำนาจของ  ผบช......................  ผบ.ตร.จะระงับการใช้อำนาจนั้นเป็นการชั่วคราวและใช้อำนาจนั้นด้วยตนเองก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่  ก.ต.ช.  กำหนด
เมื่อรับมอบอำนาจแล้ว...........ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจไว้เป็นกรณีไป
ในกรณีที่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติ ครม. กำหนดให้อำนาจหรือหน้าที่ใดเป็นของปลัดกระทรวง..................การใช้อำนาจหรือการปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ สตช.ให้ถือเป็นอำนาจและหน้าที่ของ  ผบ.ตร.

วินัยและการรักษาวินัย

กฎ ก.ตร.เรื่องจรรยาบรรณของตำรวจให้มีผลใช้บังคับ..............เมื่อพ้นกำหนด  ๖๐  วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจาฯ
การกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงได้แก่..............การไม่รักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม ๑๘  ข้อ
การกระทำผิดวินัยร้ายแรง..........................มี  ๗  ข้อ
ผู้มีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาข้าราชการตำรวจให้มีวินัยและดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยคือ.................ผู้บังคับบัญชา
เมื่อกรณีมีมูลที่ควรจะกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย..............ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที


ผู้บังคับบัญชาผู้ใด ละเลย ไม่ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัย หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต..................ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
เมื่อมีความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาวินัย แลปราบปรามข้าราชการตำรวจผู้ก่อการกำเริบ หรือเพื่อบังคับข้าราชการตำรวจที่ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่..................
ผู้บังคับบัญชาอาจใช้อาวุธหรือกำลังบังคับได้ และถ้าได้ทำโดยสุจริต ตามสมควรแก่เหตุ ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ช่วยเหลือไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา  แต่ต้องรายงานเหตุไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามลำดับ จนถึง  ผบ.ตร.
โทษทางวินัย........................มี  ๗  สถาน ได้แก่ 
(๑)        ภาคทันฑ์
(๒)ทันฑกรรม
(๓)กักยาม
(๔)กักขัง
(๕)ตัดเงินเดือน
(๖)ปลดออก
(๗)ไล่ออก
ภาคทันฑ์ได้แก่..................มีเหตุควรปราณี จึงแสดงความผิดให้ปรากฎ
ทันฑกรรมได้แก่...............ทำงานโยธา  อยู่เวรยาม  ทำงานสาธารณประโยชน์ ไม่เกิน  ๖  ซม. ต่อวัน
กักยามได้แก่......................การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควร
กักขังได้แก่.........................การขังในที่จัดไว้เพื่อควบคุม
การกักยามหรือกักขัง.............................จะใชังานโยธาหรืองานอื่นของทางราชการด้วยก็ได้แต่ต้องไม่เกิน  ๖  ซม. ต่อวัน
การลงโทษข้าราชการตำรวจ.................ให้ทำเป็นคำสั่งโดยระบุด้วยว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด และมาตราใด
การดำเนินการทางวินัย

เมื่อมีการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย............ให้ ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง หรือ พิจารณาในเบื้องต้นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาหรือไม่
การสืบสวนข้อเท็จจริง....................ให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหา หรือถูกร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยไม่ร้ายแรง..........ให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง มาพิจารณาสั่งลงโทษ ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง ตัดเงินเดือน ตามควรแก่กรณี

เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรง................ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน
การสอบสวนความผิดวินัยร้ายแรง...................ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
ผู้มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน...........................................
              ผู้สั่ง                                                                                  สำหรับตำแหน่ง
๑.    นายกรัฐมนตรี...................................................................ผบ.ตร.
๒.   ผบ.ตร. ............................................................................. จเรตำรวจแห่งชาติ
                                                                                                        รอง ผบ.ตร.  หรือเทียบเท่าลงมา
๓.    ผบช. หรือเทียบเท่า.......................................................... ผบก.
                                                                                                 พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ลงมา)
                                                                ในส่วนราชการนั้น
     ๔.    ผบก. หรือเทียบเท่า......................................................... ผกก.
                                                                                                 พงส.ผู้ทรงคุณวุฒิ (ลงมา)
                                                                                                  ในส่วนราชการนั้น
•        หรือ ผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่างกันถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรงร่วมกัน..............ให้ผู้มีอำนาจสำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่า  หย่อนความสามารถ  บกพร่อง หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม  และผลการสอบปรากฏว่าผิดวินัยร้ายแรง.............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มี ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ จะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาศผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
การพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัย....................ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภานใน  ๒๔๐  วัน นับแต่วันได้รับสำนวน
กรณีมีเหตุจำเป็น ตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ซึ่งทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลากำหนด...................ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน  ๒  ครั้ง ครั้งละไม่เกิน   ๖๐  วัน
หากยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ................ให้ผู้ถูกกล่าวหากลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อน และให้ถือว่าไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกสืบสวนหรือสอบสวน นับแต่วันครบกำหนด จนกว่าการพิจารณาสั่งการในเรื่องนั้นจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง



ในกรณีที่ความผิดที่ปรากฎชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร................จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสืบสวนหรือสอบสวนก็ได้
เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องกักตัวผู้ถูกกล่าวหา................ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจกักตัวระหว่างการสอบสวนได้ แต่ต้องไม่เกิน อำนาจลงโทษ กักขัง ของผู้สั่ง และต้องไม่เกิน  ๑๕   วัน
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกลงโทษ กักยาม หรือ กักขัง ................ให้หักจำนวนวันที่ถูกกักตัวออกจากระยะเวลากักยาม หรือกักขังด้วย
ในกรณีที่ถูกลงโทษทันฑกรรม...........ให้ถือว่าการถูกกักตัวเป็นการรับโทษสำหรับความผิดนั้นแล้ว
ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง.............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ   ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง หรือตัดเงินเดือน ตามควรแก่กรณี
การลงโทษภาคทันฑ์ให้ใช้เฉพาะ...............กรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งไม่ถึงกับต้องลงโทษทันฑกรรม
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้กระทำผิดวินัยควรได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่ง...........ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตนที่มีอำนาจ เพื่อพิจารณาสั่ง
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ.................จะงดโทษให้โดยให้ทำทันฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจสั่งลงโทษ  ในสถานโทษใด และอัตราโทษเพียงใด.........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ  ก.ตร.
ผู้ใดกระทำผิดวินัยร้ายแรง....................ให้ผู้มีอำนาจสั่ง สั่งลงโทษ ปลดออก หรือ ไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาก็ได้.....แต่ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก
การพิจารณาสั่ง ของ  ผบ.ตร.   ,  ผบช.หรือเทียบเท่า , ผบก. หรือเทียบเท่า เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดวินัย ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอ  คณะกรรมการดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย  รองหัวหน้าหน่วยงานนั้นทุกคน 
ผู้ถูกลงโทษปลดออก.................ให้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าลาออกจากราชการ
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใดแล้ว..............ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยต่อผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการ และรายงาน  ผบ.ตร.
ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานเห็นว่าการยุติเรื่อง  งดโทษ  ลงโทษเป็นการไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม.................ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ  เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น ลดโทษลง งดโทษ ทำทันฑ์บนเป็นหนังสือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องเหมาะสม


เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการในเรื่องใดแล้ว..........................ถ้า ก.ตร.เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่ ให้ ก.ตร.มีอำนาจกระทำได้ตามความจำเป็น
ให้ผู้สืบสวน  กรรมการสืบสวน  กรรการสอบสวนทางวินัย.............เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตาม ป.วิ อาญา
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนความผิดวินัยร้ายแรง  หรือ ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไว้แล้ว.............แม้ต่อมาผู้นั้นจะลาออกจากราชการไปก็ให้ทำการสอบสวนต่อไป  แต่ต้องให้แล้วเสร็จภายใน  ๑  ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการ
ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่า ผิดวินัยร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมกการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่ความผิดประมาทหรือความผิดลหุโทษ.................................ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าภายหลังผลการสอบสวนผู้นั้นมิได้กระทำความผิดหรือผิดไม่ถึงกับถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก...................ให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัย แต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน.......... ภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภานใน
๕        ปี ให้ผู้มีอำนาจสั่งให้มีการสืบสวนสอบสวนต่อไป

การออกจากราชการ
ข้าราชการตำรวจออกจากราชการเมื่อ......................................
(๑)        ตาย
(๒)พ้นจากราชการตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ
(๓)ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือการลาออกมีผล
(๔)ถูกสั่งให้ออก
(๕)ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ข้าราชการตำรวจผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออก.......ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง
ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ  ตำแหน่งทางการเมือง  เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา  สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น...........
ให้การลาออกมีผลบังคับนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นลาออก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ...........จะยับยั้งการลาออกเป็นเวลาไม่เกิน  ๓  เดือนนับแต่วันขอลาออก

ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่าหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ ประพฤติตนไม่เหมาะสม  ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ.................ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่  ผกก.หรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นว่ามีมูล ถ้ารับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
เมื่อข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายแรงและได้มีการสอบสวนแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้นั้นกระทำความผิดที่จะถูกลงโทษ  แต่มีมลทินมัวหมอง...............ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทนได้
ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่ง ผู้บังคับการ พงส.ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป ......................ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่ง  ผบ.ตร.  จเรตำรวจแห่งชาติ  รอง  ผบ.ตร. หรือตำแหน่งเทียบเท่า..................ให้นำความฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย

การอุทธรณ์

ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ.................มีสิทธิ์อุทธรณ์ได้
กรณีถูกสั่งลงโทษ  ภาคทันฑ์  ทันฑกรรม  กักยาม  กักขัง  ตัดเงินเดือน...............ให้อุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชา ของผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ  ถ้า  ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ  ก.ตร.
กรณีถูกสั่งลงโทษ  ปลดออก ไล่ออกหรือให้ออก .................................ให้อุทธรณ์ ต่อ  ก.ตร.
ระยะเวลาอทธรณ์..................ให้อุทธรณ์ภายใน   ๓๐  วัน  นับแต่วันทราบคำสั่ง
ระยะพิจารณาอุทธรณ์............ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน  ๒๔๐  วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์
ในกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดในระเบียบ  ก.ตร. ที่ทำให้การพิจารณาไม่เสร็จ.............ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน ๒  ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน  ๖๐  วัน

การร้องทุกข์

ข้าราชการตำรวจผู้ใดเห็นว่า  ผู้บังคับบัญชา ใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องตามระเบียบ  กฎหมาย  หรือเกิดจากการปฎิบัติโดยมิชอบต่อตน.............ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ก.ตร. แล้วต่กรณี เว้นแต่เป็นกรณีมีสิทธิอุทธรณ์ ให้ใช้สิทธิอุทธรณ์
หลักเกณฑ์การร้องทุกข์ เหตุห่งการร้องทุกข์และการพิจารณา.......ให้เป็นไปตาม กฎ ก.ตร.

 
เครื่องแบบ

ลักษณะ ชนิด ประเภทของเครื่องแบบ รวมทั้งการแต่งว่าจะสมควรอย่างไร  เมื่อไร..........ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตราที่มีโทษทางอาญา     ๓   มาตรา
ม.๑๐๘ ผู้ใดแต่งเครื่องแบบโดยไม่มีสิทธิ  ต้องระวางโทษ  ๓  เดือน  ถึง  ๕  ปี
ม.๑๐๙ ข้าราชการตำรวจผู้ใดแต่งเครื่องแบบขณะกระทำความผิดกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑  ปีขึ้นไป ต้องระวางโทษ  ๑  ปี  ถึง  ๗  ปี
ม.๑๑๐ ผู้ใดแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบตำรวจ และกระทำการใดๆอันทำให้ราชการตำรวจ ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ราชการตำรวจ ต้องระวางโทษ ไม่เกิน  ๓  เดือน หรือปรับ ๑,๐๐๐  ถึง  ๑๐,๐๐๐  หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการแสดภาพยนต์  ละคร  หากผู้แสดงประสงค์จะแต่งเครื่องแบบ.............ให้ผุ้รับผิดชอบหรือมอบหมาย แจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่จะทำการแสดงนั้น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ลักษณะที่  ๗  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

วัตถุประสงค์ในการตั้งกองทุน............................เพื่อสนับสนุนงานสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
กองทุนประกอบด้วย...........................................
      ๑.เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
      ๒.เงินและทรัพย์สินที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ  วิสาหกิจ  ส่วนราชการท้องถิ่น  มูลนิธิ
      ๓.ดอกผลที่เกิดจากกองทุน
ให้นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญาที่เป็นอำนาจของข้าราชการตำรวจ และเงินค่าปรับตาม  พรบ.จราจรทางบก  เฉพาะส่วนที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้เป็นกองทุน............โดยได้รับอนุมัติจาก ครม.
คณะกรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วย.......................................
(๑)        ผบ.ตร.  เป็นประธานกรรมการ
(๒)        ผู้แทนสำนักปลัดนายก
(๓)        ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
(๔)        ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม
(๕)        ผู้แทนสำนักงบประมาณ
(๖)        ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
(๗)        ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(๘)        รอง ผบ.ตร หรือ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ตร. จำนวน  ๒  คน
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้ง...................ข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ  ๑  คน  ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน  ๒  คน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน..............................................
       (๑)บริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ นโยบายที่  ก.ต.ช.  กำหนด
       (๒)ออกระเบียบหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน  เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก  ก.ต.ช.
       (๓)จัดวางระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน
       (๔)กำหนดหลักเกณฑ์การเก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
       (๕)ออกระเบียบกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
       (๖)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
       (๗)ออกระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารกองทุก
       (๘)รายงานสถานะการเงินและบริหารกองทุนต่อ  ก.ต.ช.
นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน................ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินและบัญชี ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน   ๑๒๐  วัน
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปี...............แล้วรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อ   ก.ต.ช.  และ กระทรวงการคลัง

                                                         บทเฉพาะกาล 

admin2012-02-11 02:33
จำเกี่ยวกับตัวเลขใน พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

- ชื่อ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

- ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก

- ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547

- เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน

- ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไป 1 คน เป็นเลขานุการ ก.ต.ช.

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เชี่ยวชาญ 4 ด้านคือ กฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ

- คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. คือ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

- ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึง 90 วัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

- ก.ต.ช. มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

- ตำแหน่ง 13

- ยศ 14

- ชั้นข้าราชการ 3

- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ของ ก.ตร. จำนวน 6 คน

- กรรมการ ก.ตร. ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน10 ปีและมีอายุไม่เกิน 65 ปี

- ข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว

- ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง 2 ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

- ในกรณีที่ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน 60 วันก่อนวันครบวาระ

- การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

- ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่ ก.ตร. ไม่น้อยกว่า 6 คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ

- ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

- การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ คำนึงถึง (เรียงตามลำดับ)

1. ความอาวุโส

2. ประวัติการรับราชการ

3. ผลการปฏิบัติงาน

4. ความประพฤติ

5. ความรู้ความสามารถประกอบกัน

- ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ถ้า 15 วัน ไม่ผิด)

- โทษทางวินัยมี 7 สถาน (ให้ออก ไม่ใช่โทษทางวินัย)

- การลงโทษทัณฑกรรม ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- การลงโทษกักยามหรือกักขัง ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันได้รับสำนวน

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

- เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ต้องไม่เกิน 15 วัน

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันออกจากราชการ

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายใน 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป

- ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออก มีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

- หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

แนวข้อสอบ ป.อาญา

ข้อสอบกฎหมายอาญา  ขอแค่คำขอบคุณจากผองเพื่อนพี่น้อง

1.   นางดาวทำร้ายร่างกายนายเดือนจนได้รับอันตรายแก่กาย พันตำรวจโทเอกชัย พนักงานสอบสวน จึงจับกุมนางดาวเป็นผู้ต้องหาในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย นางดาวกลัวจะติดคุกจึงขอให้พันตำรวจโทเอกชัย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเจ้าของคดีช่วยเหลือตนโดยเสนอเงินให้ห้าแสนบาท เพื่อเป็นค่าทำพยานหลักฐานให้อ่อนช่วยนางดาวให้พ้นผิด ทำให้พันตำรวจโทเอกชัยโกรธจึงแกล้งเปลี่ยนข้อหาเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วทำสำนวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องเสนอพนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการได้พิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้องให้ศาลลงโทษ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้องนางดาว ให้วินิจฉัยว่า นางดาวและพันตำรวจโทเอกชัย มีความผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ56)
ก.   นางดาวมีความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามป.อาญา มาตรา 167  พันตำรวจโทเอกชัย มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ ตามป.อาญา มาตรา 200 วรรคสอง
ข.   นางดาวมีความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามป.อาญา มาตรา 167  พันตำรวจโทเอกชัย ไม่มีความผิด เพราะข้อหาไม่ใช่ฐานความผิด
ค.   นางดาวไม่มีความผิดฐานฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน เพราะไม่ได้มอบเงินให้จริง ๆ  พันตำรวจโทเอกชัย มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ ตามป.อาญา มาตรา 200 วรรคสอง
ง.   ไม่มีผู้ใดกระทำความผิด   

2.   นายใหญ่ตระเตรียมวางแผนฆ่านายอ้วน โดยจะใช้อาวุธปืนสองกระบอกของตน แต่อาวุธปืนที่จะใช้ในการฆ่าได้ถูกคนร้ายลักไปก่อนโดยนายใหญ่ไม่ทราบ นายเล็กต้องการให้นายอ้วนตายเช่นกัน จึงแอบเอาอาวุธปืนของตนไปไว้ที่บ้านนายใหญ่โดยประสงค์ให้นายใหญ่ใช้ยิงนายอ้วนโดยนายเล็กไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้นมีผู้แอบเอากระสุนออกจนหมดแล้ว นายน้อยต้องการให้นายอ้วนตายเช่นกัน จึงเอาอาวุธปืนของตนไปไว้ที่บ้านนายใหญ่โดยประสงค์ให้นายใหญ่ใช้ยิงนายอ้วน ต่อมานายใหญ่เห็นอาวุธปืนทั้งสองกระบอกของนายเล็กและนายน้อยวางอยู่ นายใหญ่เข้าใจว่าเป็นอาวุธปืนสองกระบอกของตน นายใหญ่ได้หยิบอาวุธปืนของนายเล็กและเมื่อพบนายอ้วนได้ใช้อาวุธปืนกระบอกนั้นจ้องเล็งจะยิงนายอ้วน ให้วินิจฉัยว่า นายใหญ่ นายเล็กและนายน้อยมีความผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ56)
ก.   การที่นายใหญ่ผิดฐานพยายามฆ่านายอ้วน นายเล็กและนายน้อยผิดฐานผู้สนับสนุน
ข.   การที่นายใหญ่ผิดฐานพยายามฆ่านายอ้วน นายเล็กและนายน้อยไม่ผิดฐานผู้สนับสนุน
ค.   การที่นายใหญ่ผิดฐานพยายามฆ่านายอ้วนเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้  นายเล็กผิดฐานผู้สนับสนุน ส่วนนายน้อยไม่มีความผิด
ง.   นายเล็กและนายน้อยผิดฐานผู้สนับสนุนเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้  นายเล็กและนายน้อยผิดฐานผู้สนับสนุน

3.   นายชมว่าจ้างนายชิตให้ไปฆ่านายใส นายชิตตกลงทำตาม แต่ก่อนที่จะไปฆ่า นายชิตเกิดป่วยกะทันหัน นายชิตจึงไปว่าจ้างนายชื่นให้ไปฆ่านายใสแทนตน เมื่อนายชื่นจ้องเล็งปืนจะยิงนายใส นายชมเกิดสำนึกผิดจึงวิ่งเข้ามายังที่เกิดเหตุและปัดปืน ทำให้ปืนตกลงไปในน้ำ ให้วินิจฉัยว่า นายชื่น นายชิต นายชม ต้องรับผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ56)
ก.   นายชื่นผิดฐานพยายามฆ่า นายชิตผิดฐานผู้ใช้  นายชม ไม่มีความผิด
ข.   นายชื่นผิดฐานพยายามฆ่า นายชิตไม่มีความผิด นายชม ผิดฐานผู้ใช้  
ค.   นายชื่นผิดฐานพยายามฆ่า นายชิตผิดฐานผู้ใช้รับโทษเช่นตัวการ  นายชม ผิดฐานผู้ใช้รับโทญเพียงหนึ่งในสาม
ง.   นายชื่นผิดฐานพยายามฆ่า นายชิต และนายชม ผิดฐานผู้ใช้รับโทษเพียงหนึ่งในสาม

4.   นายแดงเป็นคนไทยอยู่ต่างประเทศทำหนังสือมอบอำนาจเป็นภาษาอังกฤษที่สถานทูตไทย ให้นายดำไปดำเนินการให้เช่าที่ดินของตนที่อยู่ในประเทศไทย แต่นายดำไม่สามารถหาผู้เช่าได้ มีแต่ผู้ต้องการซื้อ นายดำจึงได้ดำเนินการขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้นายเขียวโดยแปลหนังสือมอบอำนาจของนายแดงเป็นภาษาไทย โดยเพิ่มเติมข้อความในคำแปลว่า นายแดงมอบอำนาจให้นายดำดำเนินการขายที่ดินแปลงดังกล่าวได้ด้วย แล้วนำหนังสือมอบอำนาจฉบับภาษาอังกฤษและคำแปลภาษาไทยไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขาย เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสอบถาม นายดำก็ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า นายแดงมอบอำนาจให้นายดำให้เช่าหรือขายที่ดินแปลงดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานที่ดินได้จดถ้อยคำดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานและดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้โดยให้นายดำลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายด้วยจากนั้นนายดำได้ส่งเงินค่าขายที่ดินทั้งหมดให้นายแดงให้วินิจฉัยว่า นายดำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่ (เนติ56)
ก.   นายดำผิดฐานปลอมเอกสาร และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ข.   นายดำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ค.   นายดำผิดฐานปลอมเอกสาร แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ง.   นายดำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

5.   ระหว่างที่นายกบกับนายเขียดเดินเล่นอยู่ในสวนจตุจักร นายกบเหลือบไปเห็นนายปลาทำนาฬิกาหล่นจึงรีบเดินเข้าไปเก็บ โดยนายเขียดไม่คาดคิดมาก่อนว่านายกบจะทำเช่นนั้น ส่วนนายปลาเมื่อเดินไปได้ไม่ไกลทราบว่านาฬิกาหล่นหายไปจึงเดินกลับมายังจุดที่นายกบและนายเขียดยืนอยู่ เมื่อนายกบเห็นนายปลาเดินกลับมาจึงได้ส่งนาฬิกาให้นายเขียดนำออกไปจากบริเวณนั้น เมื่อนายปลาเดินมาถึงสอบถามว่านายกบเห็นนาฬิกาหรือไม่ นายกบตอบว่าไม่เห็น แล้วมองตามหลังนายเขียดไป นายปลาเชื่อว่านายเขียดเอานาฬิกาไป จึงวิ่งตามไปร้องตะโกนว่า "ขโมย ๆ" นายเขียดจึงชกปากนายปลาอย่างแรงแล้วหนีไป ปรากฏว่านายปลาปากแตก ฟันหักสี่ซี่ ให้วินิจฉัยว่า นายกบและนายเขียดมีความผิดฐานใดบ้าง  (เนติ56)
ก.   นายกบผิดฐานยักยอกทรัพย์  นายเขียดผิดฐานรับของโจรและทำร้ายร่างกายสาหัส
ข.   นายกบผิดฐานยักยอกทรัพย์  นายเขียดผิดฐานรับของโจรและชิงทรัพย์
ค.   นายกบผิดฐานลักทรัพย์  นายเขียดผิดฐานรับของโจรและทำร้ายร่างกายสาหัส
ง.   นายกบและนายเขียดผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์  นายเขียดผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสอีกด้วย

6.   ขณะที่เด็กชายตุ๋ยอายุ 5 ปี กำลังวิ่งเล่นอยู่ที่สนามหญ้าในบริเวณรั้วบ้านของนางระเบียบซึ่งเป็นมารดา นายสังเวชซึ่งประสบภาวะการขาดทุนทางการค้าได้เข้าไปอุ้มเด็กชายตุ๋ยไปโดยเด็กชายตุ๋ยยอมไปด้วย จากนั้นนายสังเวชโทรศัพท์ไปถึงนางระเบียบมารดาของเด็กชายตุ๋ย ให้นำเงิน 500,000 บาทใส่ถุงกระดาษไปวางไว้ ณ โบสถ์แห่งหนึ่ง เมื่อได้รับเงินแล้วจะนำตัวเด็กชายตุ๋ยไปส่งคืน นางระเบียบจำเสียงนายสังเวชได้แต่ก็ตอบตกลงและนำเงินไปส่งมอบ ณ สถานที่นัดไว้ เมื่อได้ตัวเด็กชายตุ๋ยคืนมาแล้ว จึงนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับนายสังเวชได้พร้อมกับเงินของกลางให้วินิจฉัยว่า นายสังเวชมีความผิดฐานใดบ้าง  (เนติ56)
ก.   นายสังเวชผิดฐานเรียกค่าไถ่ , พรากผู้เยาว์ และบุกรุก
ข.   นายสังเวชผิดฐานเรียกค่าไถ่ , พรากผู้เยาว์ 
ค.   นายสังเวชผิดฐานพยายามเรียกค่าไถ่ , พรากผู้เยาว์ และบุกรุก
ง.   นายสังเวชผิดฐานพยายามเรียกค่าไถ่ , พรากผู้เยาว์ 

7.   นายต้นถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา นายต้นกลัวว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก จึงไปปรึกษานายส่งซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว ทำหน้าที่เก็บสำนวนคดีอยู่ที่ศาลนั้นซึ่งรู้จักกันมาก่อน นายส่งได้พูดว่ารู้จักผู้พิพากษาในคดีที่นายต้นถูกฟ้อง เคยเสนอสำนวนให้ท่านพิจารณา หากนายต้นให้เงินตน 100,000 บาท ก็จะขอให้ศาลพิพากษารอการลงโทษแก่นายต้น แต่นายส่งมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา นายต้นจึงมอบเงินจำนวน 100,000 บาท แก่นายส่ง ต่อมาศาลพิพากษาลงโทษจำคุกนายต้น นายต้นจึงทราบว่านายส่งมิได้วิ่งเต้นให้ตนเลย เพราะนายส่งไม่เคยรู้จักผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน เหตุที่นายส่งแอบอ้างเพราะเข้าใจว่าคดีประเภทนี้ศาลมักจะรอการลงโทษอยู่แล้ว นายต้นจึงไปต่อว่านายส่งว่าทำให้ตนเสียหายต้องโทษจำคุกและขอเงินคืน นายส่งอ้างว่ามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใดและไม่ยอมคืนเงิน 100,000 บาทให้ ให้วินิจฉัยว่า นายส่งจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ และเงินจำนวน 100,000 บาท จะริบได้หรือไม่  (เนติ57)
ก.   นายส่งไม่มีความผิดเพราะไม่ได้เรียกรับ และจะริบเงินไม่ได้
ข.   นายส่งไม่มีความผิดเพราะไม่ได้เรียกรับ แต่ขอริบเงินได้ เพราะนายส่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้
ค.   นายส่งมีความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจ ม.143  แต่จะขอริบเงินไม่ได้ 
ง.   นายส่งมีความผิดฐานเรียกรับเงินเพื่อจูงใจ ม.143  และขอริบเงินได้ 

8.   นายชมต้องการฆ่านายชัย จึงส่งจดหมายไปถึงนายชิตมือปืนรับจ้างให้ฆ่านายชัย ต่อมานายชมเปลี่ยนใจไม่ต้องการฆ่านายชัยโดยเพียงต้องการทำร้ายเท่านั้น จึงส่งจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงนายชิตมีใจความว่า ขอยกเลิกข้อความในจดหมายฉบับแรกทั้งหมดและให้นายชิตไปคอยดักทำร้ายนายชัย ปรากฏว่าจดหมายฉบับแรกหายกลางทางไปไม่ถึงมือนายชิต แต่นายชิตได้รับจดหมายฉบับที่สอง โดยไม่รู้เรื่องในจดหมายฉบับแรกเลย และได้ไปคอยดักทำร้ายนายชัยตามที่นายชมว่าจ้าง เมื่อนายชัยเดินทางมาถึง นายชิตซึ่งแอบอยู่ก็ตรงเข้าใช้ไม้ตีทำร้ายนายชัย เป็นเหตุให้นายชัยล้มลงศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตาย ให้วินิจฉัยว่า นายชิตและนายชมมีความผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ57)
ก.   นายชม ผิดฐานผู้ใช้ทั้งสองครั้ง  ครั้งแรกรับโทษหนึ่งในสาม ครั้งสองรับโทษเท่าตัวการ  นายชมผิดทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ข.   นายชม ไม่ผิดฐานผู้ใช้ในครั้งแรกเพราะนายชิตไม่รู้การใช้  แต่ผิดผู้ใช้ในครั้งที่สองรับโทษเท่าตัวการ  นายชมผิดทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ค.   นายชมผิดฐานผู้ใช้ทั้งสองครั้ง  ครั้งแรกและครั้งสองรับโทษเท่าตัวการ  นายชมผิดทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ง.   นายชมผิดฐานผู้ใช้ทั้งสองครั้ง  ครั้งแรกและครั้งสองรับโทษเท่าตัวการ  นายชมผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

9.   นายอ้วนกับนายผอมเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อน วันเกิดเหตุนายอ้วนไปท้าทายนายผอมโดยพูดว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัว ถ้าแน่จริง" นายผอมเดินออกจากบ้านไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย นายอ้วนชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงนายผอม จึงถูกนายผอมใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอกจำนวน3 นัด นายอ้วนได้รับอันตรายสาหัสให้วินิจฉัยว่า นายผอมมีความผิดฐานใดหรือไม่ และนายผอมจะอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่ (เนติ57)
ก.   นายผอมผิดพยายามฆ่า  อ้างป้องกันและบันดาลโทสะไม่ได้
ข.   นายผอมผิดพยายามฆ่า  อ้างป้องกันได้  แต่อ้างบันดาลโทสะไม่ได้
ค.   นายผอมผิดพยายามฆ่า  อ้างป้องกันไม่ได้ แต่บันดาลโทสะได้
ง.   นายผอมผิดทำร้ายร่างกายสาหัส เพราะมีเจตนาทำร้าย  แต่อ้างป้องกันและบันดาลโทสะไม่ได้

10.   นายดำเป็นลูกจ้างมีหน้าที่รับและจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดแดงก่อสร้าง ซึ่งมีนายแดงเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ นายเขียวลูกหนี้ของห้างฯ สั่งจ่ายเช็คของธนาคารแห่งหนึ่งให้แก่ห้างฯ เพื่อชำระหนี้ โดยนำเช็คไปมอบให้นายดำ นายดำเห็นว่านายแดงไม่อยู่ที่ห้างฯ จึงลงลายมือชื่อของนายดำด้านหลังเช็คแล้วนำตราของห้างฯประทับกำกับลายมือชื่อของนายดำ เพื่อให้พนักงานธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อสลักหลังเช็คโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนห้างฯ และจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในวันรุ่งขึ้น แต่ปรากฏว่านายดำป่วยจึงไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามที่ตั้งใจไว้ นายดำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่  (เนติ57)
ก. พยายามลักทรัพย์         ข. พยายามฉ้อโกง
ค. ปลอมแปลงเอกสาร         ง. ปลอมแปลงเอกสารสิทธิ

11.   นายแสบไม่พอใจนายรวยเจ้าหนี้เงินกู้ของตน จึงแอบเข้าไปลักทรัพย์ของนายรวยบริเวณแพริมน้ำซึ่งนายรวยใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แหวนเพชรมาหนึ่งวง ในขณะที่นายแสบจะลงจากแพได้เหลือบไปเห็นเงาคนกำลังแอบดูตนอยู่ นายแสบเชื่อว่าเป็นนายรวยและจำตนได้ เพราะตรงบริเวณนั้นมีแสงสว่างจากดวงไฟ แม้จะเป็นคืนข้างแรมก็ตาม เมื่อนายแสบกลับถึงบ้านแล้ว จึงทราบว่าเป็นแหวนของตนเอง ที่จำนำไว้แก่นายรวย นายแสบรู้สึกโกรธและเกรงว่าจะถูกนายรวยแจ้งความ นำเจ้าพนักงานตำรวจมาจับกุมตน จึงได้นำอาวุธปืนไปดักซุ่มยิงนายรวยจนถึงแก่ความตายให้วินิจฉัยว่า นายแสบมีความผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ57)
ก.   ผิดฐานลักทรัพย์ บุกรุก และ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข.   ผิดฐาน บุกรุก โกงเจ้าหนี้ และ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ค.   ผิดฐานบุกรุก และ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ง.   ผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

12.   นายชายหลงรักนางสาวหญิง แต่นางสาวหญิงไม่สนใจ คืนวันหนึ่งนายชายเดินผ่านหน้าบ้านนางสาวหญิงเห็นนางสาวหญิงอยู่บ้านคนเดียวจึงเข้าไปหาเพื่อจะลวนลาม นางสาวหญิงตกใจร้องเรียกให้คนช่วย นายชายจึงขู่ไม่ให้ร้อง มิฉะนั้นจะฆ่าให้ตาย นางสาวหญิงกลัวจึงหยุดร้องแต่ในขณะนั้นเองสร้อยข้อมือที่นางสาวหญิงใส่อยู่ขาดตกลงบนพื้นนายชายเห็นสร้อยข้อมือของนางสาวหญิงตก จึงก้มลงหยิบแล้วหลบหนีไปให้วินิจฉัยว่า นายชายมีความผิดฐานใดหรือไม่ (เนติ57)
ก.   ผิดฐานบุกรุกฯ , ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ และ ลักทรัพย์
ข.   ผิดฐานบุกรุกฯ , ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ และ ชิงทรัพย์
ค.   ผิดฐานบุกรุกฯ , ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ , ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว และ ลักทรัพย์ 
ง.   ผิดฐานบุกรุกฯ , ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ , ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว และ ชิงทรัพย์ 

13.   นายหาญขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปตามถนนพบนายหินเจ้าหนี้เงินกู้ของตนกำลังขับ รถยนต์กระบะอยู่ข้างหน้าโดยบังเอิญ นายหาญเกลียดนายหินซึ่งเป็นนายทุนเงินกู้หน้าเลือด จึงขับรถไล่ตามไปด้วยความเร็วสูงและตั้งใจว่าจะขับรถเบียดชนรถของนายหินให้ตกลงไปในลำคลองข้างถนนเพื่อให้นายหินจมน้ำตายโดยทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นอุบัติเหตุ ขณะที่รถคันที่นายหาญขับขี่ใกล้จะเบียดชนรถคันที่นายหินขับขี่ ยางรถคันที่นายหาญขับขี่ได้ทับตะปูและระเบิดขึ้นเป็นเหตุให้รถเสียหลักไม่ชนรถคันที่นายหินขับขี่ แต่ได้แล่นข้ามเกาะกลางถนนไปยังฝั่งตรงกันข้ามพุ่งเข้าชนตึกร้านค้าของนายหวยอย่างแรงจนตัวตึกได้รับความเสียหายอย่างมาก ขณะนั้นนายหวยซึ่งยืนอยู่ที่ระเบียงตึกชั้นสามเห็นเหตุการณ์พอดีและกลัวว่าตึกจะถล่มทำให้ตนตกลงไปถึงแก่ความตาย จึงได้กระโดดลงจากตึกดังกล่าวเป็นเหตุให้ศีรษะของนายหวยกระแทกกับพื้นดินและถึงแก่ความตายทันที หลังจากนั้นอีกสองวันตึกร้านค้าของนายหวยจึงได้ทรุดตัวพังทลายลงมา  ให้วินิจฉัยว่านายหาญจะมีความผิดฐานต่อกรณีนายหิน หรือไม่ (อัยการ48)
ก.   ไม่ต้องรับผิดฐานใด เพราะยังไม่ได้ลงมือกระทำผิด
ข.   ไม่ต้องรับผิดฐานใด เพราะยังไม่เกิดความเสียหายต่อนายหิน
ค.   รับผิดฐานฐานฆ่าผู้อื่น แต่ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของตึกร้านค้า เพราะเป็นอุบัติเหตุ
ง. รับผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและพยายามทำให้เสียทรัพย์
14.   ตามข้อที่แล้ว ให้วินิจฉัยว่านายหาญจะมีความผิดฐานต่อกรณีนายหวย หรือไม่ (อัยการ48)
ก.   ไม่ต้องรับผิดฐานใด เพราะเป็นกรณีอุบัติเหตุ
ข.   ไม่ต้องรับผิดกรณีความตายของนายหวย แต่รับผิดในความเสียหายของตึกร้านค้าของนายหวย
ค.   รับผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์
ง.   รับผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามทำให้เสียทรัพย์

15.   นายโทนประสงค์จะฆ่านายฉิ่ง แต่ไม่กล้าที่จะทำด้วยตนเอง และรู้ว่านายฉาบเป็นคนโมโหร้ายและหึงหวงภรรยา นายโทนจึงไปหานายฉาบและกล่าวเท็จว่าภรรยานายฉาบเป็นชู้กับนายฉิ่ง โดยหวังว่านายฉาบคงจะโกรธแล้วไปฆ่านายฉิ่ง เมื่อนายฉาบรู้เรื่องเท็จที่นายโทนเล่าให้ฟังจึงโกรธนายฉิ่งและต้องการฆ่านายฉิ่ง แต่นายฉาบไม่มีอาวุธปืนจึงไปเล่าเจตนาที่จะฆ่านายฉิ่งให้นายกลองฟัง และขอยืมอาวุธปืนของนายกลอง นายกลองต้องการให้นายฉิ่งตกใจกลัวจึงมอบอาวุธปืนและกระสุนปืนปลอมให้นายฉาบไป โดยไม่ได้บอกเรื่องกระสุนปืนปลอมให้นายฉาบรู้ นายฉาบเข้าใจว่าเป็นอาวุธปืนและกระสุนปืนจริง จึงนำอาวุธปืนและกระสุนปืนปลอมดังกล่าวไปยิงนายฉิ่ง กระสุนปืนถูกนายฉิ่ง แต่นายฉิ่งไม่ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่ตกใจและรู้สึกกลัว ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายโทน นายฉาบ นายกลอง จะมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด (อัยการ48)
ก.   นายฉาบมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ นายโทนมีความผิดฐานหมิ่นประมาทและเป็นผู้ใช้นายฉาบรับโทษเสมือนเป็นตัวการ สำหรับนายกลองผิดฐานสนับสนุนการกระทำการให้ผู้อื่นตกใจกลัว แต่ไม่ต้องรับโทษ
ข.   นายฉาบมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ นายโทนมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้นายฉาบรับโทษเสมือนเป็นตัวการ สำหรับนายกลองผิดฐานสนับสนุนการกระทำการให้ผู้อื่นตกใจกลัว แต่ไม่ต้องรับโทษ
ค.   นายฉาบมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ นายโทนมีความผิดฐานหมิ่นประมาทและเป็นผู้ใช้นายฉาบรับโทษเสมือนเป็นตัวการ สำหรับนายกลองผิดฐานสนับสนุนนายฉาบฐานพยายามฆ่า
ง.   นายฉาบมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ นายโทนมีความผิดฐานหมิ่นประมาท สำหรับนายกลองผิดฐานสนับสนุนการกระทำการให้ผู้อื่นตกใจกลัว แต่ไม่ต้องรับโทษ

16.   ธนาคารกรุงสยามได้ออกบัตรเครดิตที่มีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลให้แก่นายเก่งเพื่อใช้เป็นบัตรที่สามารถซื้อสินค้าโดยใช้เครื่องรูดบัตรอัตโนมัติบันทึกรายการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือใช้เบิกเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือจากธนาคารได้ ต่อมานายกาจพี่ชายของนายเก่งต้องการมีบัตรเครดิตใช้ โดยต้องการให้นายเก่งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจึงไปแจ้งต่อพนักงานธนาคาร กรุงสยามว่าตนเองคือนายเก่ง ทำบัตรเครดิตดังกล่าวหายไปเกรงว่าผู้อื่นจะนำไปใช้จึงขอยกเลิกการใช้บัตรเครดิตฉบับเดิม และขอให้ธนาคารออกบัตรเครดิตฉบับใหม่แทน พนักงานธนาคารกรุงสยาม หลงเชื่อจึงดำเนินการยกเลิกบัตรเครดิตฉบับเดิมและออกบัตรเครดิตฉบับใหม่ในชื่อของนายเก่งให้แก่นายกาจไป เป็นเหตุให้นายเก่งไม่สามารถใช้บัตรเครดิตฉบับเดิมได้ตามปกติ  ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายกาจและพนักงานธนาคารกรุงสยามจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด (อัยการ48)
ก.   นายกาจมีความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น พนักงานธนาคารไม่มีความผิด
ข.   นายกาจมีความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิคส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น พนักงานธนาคารไม่มีความผิด
ค.   นายกาจมีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิคส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น พนักงานธนาคารไม่มีความผิด
ง.   นายกาจมีความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิคส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น พนักงานธนาคารมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

17.   ร้อยตำรวจตรีแดงไปที่บ้านของนายดำซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีฉ้อโกง เพื่อจับนายดำตามหมายจับในคดีดังกล่าว นายดำได้หลบหนีออกจากบ้านไปทางทิศใต้ นายขาวบิดาของนายดำต้องการช่วยเหลือนายดำจึงบอกร้อยตำรวจตรีแดงว่านายดำหลบหนีไปทางทิศเหนือ ร้อยตำรวจตรีแดงไม่เชื่อได้ติดตามไปทางทิศใต้แล้วจับกุมนายดำได้ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายขาวมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด (อัยการ48)
ก.   นายขาวมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน 
ข.   นายขาวมีความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ โดยมีเจตนาเพื่อช่วยให้นายดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีฉ้อโกงอันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมและเพื่อไม่ให้ต้องโทษ 
ค.   นายขาวมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน และกระทำด้วยประการใดๆ โดยมีเจตนาเพื่อช่วยให้นายดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีฉ้อโกงอันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมและเพื่อไม่ให้ต้องโทษ 
ง.   นายขาวมีความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ โดยมีเจตนาเพื่อช่วยให้นายดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาแต่ไม่ต้องโทษรับโทษ 

18.   นายสมบัติและนางสมศรีเคยอยู่กินฉันท์สามีภรรยากันมาก่อน แต่ปัจจุบันทั้งสองได้แยกทางกัน นายสมบัติต้องการเงินจำนวน 20,000 บาท จึงโทรศัพท์ไปหานางสมศรีและพูดขู่ให้ นางสมศรีส่งมอบเงินจำนวน 20,000 บาทให้ มิฉะนั้นจะฆ่านางสาวสำรวยและขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลความสัมพันธ์ของนางสาวสำรวยกับนายกำธรว่าได้เสียกันอย่างลับๆ นางสาวสำรวยเป็นบุตรสาวของนางสมศรีที่เกิดกับนายสมคิดสามีเดิมที่เสียชีวิตไปแล้ว นางสมศรีกลัวจึงตกลงจะมอบเงินจำนวน 20,000 บาทให้ แต่ขอผ่อนชำระเป็นจำนวน 2 งวด ๆ ละ 10,000 บาท โดยงวดแรกจะชำระให้ในอีกเจ็ดวันข้างหน้า ครั้นถึงกำหนดตามนัดนางสมศรีได้นำเงินจำนวน 10,000 บาทมาให้นายสมบัติ เมื่อพบกับนายสมบัติ นางสมศรีได้ต่อรองจำนวนเงินลดลงเหลือ 5,000 บาท ทำให้นายสมบัติโกรธ จึงใช้มือจับแขนของ นางสมศรีไว้ไม่ให้ขัดขืน แล้วล้วงเอาเงินจำนวน 10,000 บาทของนางสมศรีที่อยู่ในกระเป๋ากางเกงไป ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายสมบัติจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด (อัยการ48)
ก.   นายสมบัติมีความผิดฐานกรรโชกและรีดเอาทรัพย์ 
ข.   นายสมบัติมีความผิดฐานกรรโชกและรีดเอาทรัพย์ และ ชิงทรัพย์
ค.   นายสมบัติมีความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ และ ชิงทรัพย์
ง.   นายสมบัติมีความผิดฐานพยายามกรรโชกและพยายามรีดเอาทรัพย์ และ ชิงทรัพย์

19.   นางอรจดทะเบียนสมรสแล้วตั้งครรภ์กับสามีได้ 6 เดือน นายแพทย์เดชตรวจครรภ์โดยละเอียดแล้วพบว่าทารกในครรภ์นางอรมีความพิการ ตาบอด 2 ข้าง แขนด้วน 2 ข้าง และระบบการทำงานของหัวใจผิดปกติ ไม่อาจรักษาได้ หากคลอดออกมาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง และจะมีชีวิตรอดไม่เกิน 1 ปี ประกอบกับนางอรมีฐานะยากจน จึงขอร้องให้นายแพทย์เดชทำแท้งให้ เมื่อนายแพทย์เดชทำแท้งให้นางอรแล้ว ทำให้นางอรไม่สามารถมีบุตรได้อีกตลอดชีวิต ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านางอรและนายแพทย์เดชจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด (อัยการ48)
ก.   นางอรมีความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก นายแพทย์เดชมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม แต่ไม่ต้องรับโทษ
ข.   นางอรมีความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก แต่ไม่ต้องรับโทษ นายแพทย์เดชมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม 
ค.   นางอรมีความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก นายแพทย์เดชมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ซึ่งทั้งสองไม่ต้องรับโทษ
ง.   นางอรมีความผิดฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก นายแพทย์เดชมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม เป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส



20.   ร้อยตำรวจเอกสมยศ รองสารวัตรสอบสวนออกตรวจท้องที่ โดยมีนายสา ราษฎรซึ่งเป็นสายลับของร้อยตำรวจเอกสมยศแต่งกายคล้ายตำรวจพกอาวุธปืนและกุญแจมือติดตามไปด้วย นายสาพบนายทับคู่อริซึ่งเคยขายยาบ้า จึงเข้าทำการจับกุมตรวจค้นตัว และใส่กุญแจมืออย่างตำรวจ นายทับวิ่งหนี นายสาจึงใช้อาวุธปืนที่นำติดตัวมายิงนายทับตาย ร้อยตำรวจเอกสมยศจะจับนายสา นายสากลัวความผิดจึงขอร้องให้ร้อยตำรวจเอกสมยศช่วยตนโดยทวงบุญคุณที่นายสาเคยช่วยเหลือไว้ ร้อยตำรวจเอกสมยศจึงช่วยนายสาโกยเลือดนายทับที่อยู่ในที่เกิดเหตุและนำศพนายทับบรรทุกรถยนต์ไปทิ้งที่อื่นเพื่ออำพรางคดีให้วินิจฉัยว่า นายสาและร้อยตำรวจเอกสมยศจะมีความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ฐานใด หรือไม่ (เนติ59)
ก.   นายสามีความผิดฐานแสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานและผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตาย
ข.   ร้อยตำรวจเอกสมยศ มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และ กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลง
ค.   ร้อยตำรวจเอกสมยศ มีความผิดฐานทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด เพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลง และฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตาย
ง.   ถูกทุกข้อ
21.   นางสายจ้างนายบ่ายไปฆ่านายเช้าสามีเพราะนายเช้าไปอยู่กินกับหญิงอื่น นางเย็นน้องสาวนางสายให้นายบ่ายยืมอาวุธปืนไปใช้ยิงนายเช้า นายบ่ายไปดักยิงนายเช้า เมื่อนายเช้าเดินผ่านมา นายบ่ายชักอาวุธปืนออกจากเอวเพื่อจะยิง แต่นายบ่ายเห็นว่านายเช้าแก่มากแล้วจึงเกิดความสงสารและเปลี่ยนใจไม่ยิงให้วินิจฉัยว่า นางสาย นายบ่ายและนางเย็นมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด หรือไม่(เนติ59)
ก.   นายบ่ายไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า นางสายผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้นายบ่ายรับโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นางเย็นมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายบ่าย
ข.   นายบ่ายไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า นางสายผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้นายบ่ายรับโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นางเย็นก็ไม่มีความผิด
ค.   นายบ่ายมีความผิดฐานพยายามฆ่า นางสายผิดฐานเป็นผู้ใช้นายบ่ายรับโทษเหมือนตัวการ   นางเย็นมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายบ่าย
ง.   นายบ่ายมีความผิดฐานพยายามฆ่า แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการยับยั้งเสียเอง  นางสายผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้นายบ่ายรับโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นางเย็นมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายบ่าย

22.    นายหนึ่งต้องการฆ่านายสองจึงไปดักซุ่มยิงนายสอง เมื่อนายสองมาถึงจุดที่นายหนึ่งดักซุ่มอยู่ในระยะห่างประมาณ 20 เมตร นายหนึ่งใช้อาวุธปืนยิงนายสองหลายนัด กระสุนปืนนัดแรกถูกบริเวณคอด้านหน้าขวาและบริเวณชายโครงขวาด้านหน้า ทั้งสองแห่งมีบาดแผลขนาด 0.5 เซนติเมตร ไม่มีความลึก ซึ่งเป็นบาดแผลที่รักษาหายภายใน 7 วัน ทั้งนี้เพราะกระสุนปืนไม่มีความรุนแรงที่จะทำให้นายสองตายได้เพราะอาวุธปืนกำลังอ่อน ปรากฏว่ากระสุนปืนอีกนัดหนึ่งเลยไปถูกนายสามที่ใบหน้าเป็นเหตุให้ดวงตาข้างซ้ายปิดบวมช้ำ ต่อมาอีก 5 วันดวงตาข้างซ้ายนั้นบอดให้วินิจฉัยว่า นายหนึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด หรือไม่(เนติ59)
ก.   นายหนึ่งมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและผิดฐานพยายามฆ่านายสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด
ข.   นายหนึ่งมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายนายสองและผิดฐานทำร้ายร่างกายนายสามเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสโดยพลาด
ค.   นายหนึ่งมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้และผิดฐานพยายามฆ่านายสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้โดยพลาด
ง.   นายหนึ่งมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้และผิดฐานพยายามฆ่านายสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด

23.   นายเดชตัดเลขหมายประจำแชสซีของรถยนต์โตโยต้าออก แล้วตัดเลขหมายประจำแชสซีของรถยนต์ฮอนด้ามาเชื่อมต่อไว้แทน เอาป้ายทะเบียนรถยนต์ฮอนด้าที่ทางราชการออกให้ไปติดใช้กับรถยนต์โตโยต้าซึ่งป้ายทะเบียนหลุดตกหายไป และเอาแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีที่แท้จริงของรถยนต์ฮอนด้าไปติดไว้ที่กระจกหน้ารถยนต์โตโยต้าซึ่งมิได้เสียภาษีรถยนต์ประจำปี แล้วนำรถยนต์โตโยต้าไปใช้งานเพื่อให้คนหลงเชื่อว่ารถยนต์โตโยต้าคันดังกล่าวมีเลขหมายประจำแชสซี หมายเลขป้ายทะเบียนตามที่นายเดชทำและเสียภาษีรถยนต์ประจำปีถูกต้องแล้วให้วินิจฉัยว่า นายเดชมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด หรือไม่(เนติ59)
ก.   นายเดชไม่มีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารและปลอมเอกสารราชการ
ข.   นายเดชไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารราชการ  แต่ผิดฐานใช้เอกสารเท็จ
ค.   นายเดชมีความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารราชการ
ง.   นายเดชมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารและปลอมเอกสารราชการ

24.   นายแก่น นายกล้า และนายเขียววางแผนจะไปปล้นทรัพย์ที่บ้านนายรวยโดยตกลงกันว่า ให้นายแก่นเป็นผู้เข้าไปควบคุมและทำร้ายนายรวย เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ หากขัดขืนก็ให้ฆ่านายรวยได้ คืนต่อมาทั้งสามคนได้เข้าไปในบ้านของนายรวย นายแก่นตามหานายรวยไม่พบ เพราะนายรวยแอบไปอยู่บนหลังคาบ้านเมื่อนายกล้าและนายเขียวเอาทรัพย์ไปจนเป็นที่พอใจแล้ว ขณะที่กำลังจะออกจากบริเวณบ้าน สุนัขของนายรวยเห่านายแก่นกับพวก นายแก่นจึงเอาอาวุธมีดที่นำติดตัวไปด้วย ฟันสุนัขของนายรวยตายให้วินิจฉัยว่า นายแก่น นายกล้า และนายเขียวมีความผิดฐานใด หรือไม่(เนติ59)
ก.   ผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธในเคหสถานและร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
ข.   ผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ ร่วมกันบุกรุก
ค.   ผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ ร่วมกันบุกรุก
ง.   ผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธในเคหสถาน,ร่วมกันบุกรุกและร่วมกันทำให้เสียทรัพย์

25.   นายมืดแอบเข้าไปลักโคของนายขาวจากฝูงในขณะที่นายขาวเผลอ หลังจากที่นายมืดลักโคไปได้ประมาณ 10 นาที นายขาวทราบจึงออกติดตามไปในทันที อีกสองชั่วโมงต่อมาก็ตามไปทัน นายมืดใช้อาวุธปืนยิงขู่เพื่อไม่ให้นายขาวติดตาม โคของนายขาวตกใจเพราะเสียงปืนจึงวิ่งหนีเข้าไปในป่าบริเวณนั้น ส่วนนายมืดหลบหนีไปอีกทางหนึ่ง นายขาวตามหาโคอยู่หลายวันแต่ไม่พบ นายเหลี่ยมเพื่อนบ้านจึงหลอกนายขาวว่าตนทราบว่านายมืดนำโคไปซ่อนไว้ ณ ที่ใด หากนายขาวประสงค์จะได้โคคืน จะต้องนำเงินค่าไถ่ไปให้นายมืด 5,000 บาท ซึ่งความจริงแล้วนายเหลี่ยมไม่ทราบว่าโคอยู่ ณ ที่ใด และไม่เคยรู้จักนายมืด นายขาวหลงเชื่อ จึงมอบเงินให้นายเหลี่ยมไปให้วินิจฉัยว่า นายมืดและนายเหลี่ยมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด หรือไม่(เนติ59)
ก.   นายมืดผิดฐานลักทรัพย์  นายเหลี่ยมผิดฐานเรียกค่าไถ่
ข.   นายมืดผิดฐานชิงทรัพย์  นายเหลี่ยมผิดฐานเรียกค่าไถ่
ค.   นายมืดผิดฐานชิงทรัพย์  นายเหลี่ยมผิดฐานฉ้อโกง
ง.   นายมืดผิดฐานชิงทรัพย์  นายเหลี่ยมผิดฐานรับของโจร

26.   นายช้างประสงค์จะฆ่านายสิงห์จึงติดต่อนายเสือให้ไปว่าจ้างคนมายิงนายสิงห์  นายเสือไปติดต่อพานายไก่และนายเป็ดมาพบนายช้าง   นายช้างมอบอาวุธปืนให้นายไก่และนายเป็ดคนละ 1 กระบอก แล้วพานายเสือ นายไก่ และนายเป็ดไปดูตัวนายสิงห์จนจำได้ เช้าวันรุ่งขึ้น นายไก่และนายเป็ดร่วมกันนำอาวุธปืนที่ได้รับจากนายช้างไปแอบซุ่มยิงนายสิงห์จนถึงแก่ความตายโดยขณะที่นายไก่และนายเป็ดยิงนายสิงห์นั้น นายเสือยืนดูอยู่คนละฝั่งถนนและไม่มีอาวุธติดตัว เมื่อนายไก่และนายเป็ดยิงนายสิงห์แล้ว นายเสือซึ่งชำนาญเส้นทางในบริเวณนั้นวิ่งนำพานายไก่และนายเป็ดหลบหนีไป          ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นายช้าง นายเสือ นายไก่ และนายเป็ด มีความผิดฐานใด (ผู้พิพากษา 45 ) 
ก.   นายไก่และนายเป็ดผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสิงห์โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นายช้างผิดฐานเป็นผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ  นายเสือผิดฐานเป็นผู้ใช้ ไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ข.   นายไก่และนายเป็ดผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสิงห์โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นายช้างผิดฐานเป็นผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ  นายเสือผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ค.   นายไก่และนายเป็ดผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสิงห์โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นายช้างผิดฐานเป็นผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ และเป็นผู้สนับสนุนด้วย  นายเสือผิดฐานเป็นผู้ใช้ 
ง.   นายไก่และนายเป็ดผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสิงห์โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นายช้างผิดฐานเป็นผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ  นายเสือผิดฐานเป็นผู้ใช้ และผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย

27.   นายเดชเป็นปลัดอำเภอได้รับคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้รับผิดชอบฝ่ายทะเบียนและบัตร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับแจ้งย้ายเข้า แจ้งย้ายออก และทำบัตรประจำตัวประชาชน  นายม้งเป็นชาวเขามาติดต่อขอให้นายเดชเพิ่มเติมชื่อนายม้งลงในทะเบียนบ้านของนายไทย กับทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่นายม้ง โดยนายม้งจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินแก่นายเดช  นายเดชตกลงยอมเพิ่มเติมชื่อนายม้งลงในทะเบียนบ้านของนายไทยฉบับเจ้าบ้านและฉบับอำเภอโดยไม่มีใบแจ้งการย้ายออก นายเดชเป็นผู้กรอกข้อความและลงลายมือชื่อรับรองในเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งทำใบคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาซนและเขียนข้อความลงในเอกสารแบบการให้เลขประจำตัวประชาชนแก่บุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อ  จากนั้นนายเดชได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านคืนให้แก่นายไทยเก็บรักษาไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง          ให้วินิจฉัยว่า การกระทำของนายม้งและนายเดชเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด  (ผู้พิพากษา 45 )
ก.   นายเดชผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  และอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น และรับรองหลักฐานว่าได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้งและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ป.อาญามาตรา149,161,162(2)(4)      นายม้งผิดฐานจะให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้โดยมิชอบด้วยหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา 144
ข.   นายเดชผิดฐาน ปลอมเอกสารราชการ เป็นเจ้าพนักงานอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น และรับรองหลักฐานว่าได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้งและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ตาม ป.อาญามาตรา149,161,162(2)(4)       นายม้งผิดฐานจะให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้โดยมิชอบด้วยหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา 144
ค.   นายเดชผิดฐาน ปลอมเอกสารราชการ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตาม ป.อาญามาตรา149,161,162(2)(4)       นายม้งผิดฐานจะให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้โดยมิชอบด้วยหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา 144
ง.   นายเดชผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  และอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น และรับรองหลักฐานว่าได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้งและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ป.อาญามาตรา149,161,162(2)(4)       นายม้งผิดฐานจะให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้โดยมิชอบด้วยหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา 144

28.   นายอาทิตย์รักใคร่ชอบพอกับเด็กหญิงดาราอายุ 14 ปี จึงออกอุบายให้เด็กหญิงดาราบอกบิดามารดาว่าต้องไปโรงเรียนในวันเสาร์เพราะมีกิจกรรมพิเศษแล้วโทรศัพท์นัดพบเด็กหญิงดาราที่ศูนย์การค้า จากนั้นจึงพาเด็กหญิงดาราไปโรงแรมแล้วร่วมประเวณีกันขณะที่นายอาทิตย์กับเด็กหญิงดาราจะออกจากโรงแรม นายจันทร์มาพบเข้าจึงอาสาพาเด็กหญิงดาราไปส่งบ้านตามลำพัง ระหว่างทางนายจันทร์ได้แวะโทรศัพท์ไปที่บ้านของเด็กหญิงดาราแต่ไม่มีผู้รับสาย นายจันทร์จึงพูดฝากข้อความไว้ในเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติของบ้านเด็กหญิงดาราว่าเด็กหญิงดาราถูกจับตัวไป หากประสงค์ได้ตัวคืนให้นำเงิน 100,000 บาท ไปไว้ในตู้โทรศัพท์ของศูนย์การค้าตามกำหนดนัด แล้วจะปล่อยตัวไป หลังจากนั้นนายจันทร์ได้พาเด็กหญิงดาราไปรอรับเงินที่บ้านของนายอังคาร โดยนำกุญแจล็อกประตูห้องขังเด็กหญิงดาราไว้ในห้อง นายอังคารช่วยหาอาหารให้เด็กหญิงดารารับประทาน ต่อมานายอังคารเกิดความสงสารเด็กหญิงดาราจึงแอบไขกุญแจเปิดประตูห้องและกระซิบบอกทางกลับบ้านให้ เด็กหญิงดาราจึงหลบหนีมาได้      ให้วินิจฉัยว่า นายอาทิตย์ นายจันทร์และนายอังคาร มีความผิดอาญาฐานใด (ผู้พิพากษา 45 )
ก.   นายอาทิตย์ผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ,กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน  นายจันทร์ผิด ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น และฐานเอาตัวเด็กอายยังไม่เกิน 15 ปีไปและหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่   นายอังคารผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายจันทร์แต่มีเหตุลดหย่อนโทษ ซึ่งศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข.   นายอาทิตย์ผิดฐาน กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน  นายจันทร์ผิด ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น และฐานเอาตัวเด็กอายยังไม่เกิน 15 ปีไปและหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่   นายอังคารผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายจันทร์แต่มีเหตุลดหย่อนโทษ ซึ่งศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ค.   นายอาทิตย์ผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร นายจันทร์ผิด ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น และฐานเอาตัวเด็กอายยังไม่เกิน 15 ปีไปและหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่   นายอังคารผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายจันทร์แต่มีเหตุลดหย่อนโทษ ซึ่งศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ง.   นายอาทิตย์ผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ,กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน  นายจันทร์ผิด ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น นายอังคารผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนนายจันทร์แต่มีเหตุลดหย่อนโทษ ซึ่งศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

29.   นายเจียงกับนายชาติเป็นคู่อริกัน  นายเจียงสังเกตว่าทุกเช้านายชาติจะขับรถยนต์ไปทำงานโดยผ่านทุ่งนาเปลี่ยวและต้องข้ามสะพานข้ามคลองแห่งเดียวในย่านนั้น  นายเจียงจึงวางแผนว่าในวันที่ 1 มิถุนายน 2545 เวลาเช้าจะใช้ปืนยิงนายชาติขณะขับรถยนต์ข้ามสะพานดังกล่าว นายเจียงเล่าแผนการให้นางศรีภริยาฟัง นางศรีไม่ทัดทาน ในเวลาเดียวกันนายเทพซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของนายเจียงได้แอบล่วงรู้แผนการดังกล่าวและต้องการฆ่านายชาติเช่นกันเมื่อถึงวันที่กำหนดนายชาติขับรถยนต์ไปทำงานตามปกติ นายเจียงขับรถจักรยานยนต์ตามนายชาติไป ขณะที่นายชาติลดความเร็วรถยนต์เพื่อลงสะพาน นายเจียงได้โอกาสจึงยกปืนขึ้นเล็งไปยังนายชาติ นายเทพซึ่งซุ่มอยู่บริเวณคอสะพานห่างจากนายเจียงเพียง 20 เมตร เห็นดังนั้นจึงรีบโทรศัพท์ถึงนายชาติเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ นายชาติรีบยกโทรศัพท์มือถือขึ้นพูดไม่ทันระวังตัวจึงถูกนายเจียงยิงถูกที่หัวไหล่ได้รับบาดเจ็บ นายเจียงจะยิงซ้ำ แต่กระสุนขัดลำกล้องประกอบกับมีรถแล่นสวนทางมา นายเจียงและนายเทพจึงหลบหนีไป    ให้วินิจฉัยว่า บุคคลใดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่ (ผู้พิพากษา 45 )
ก.   นายเจียงและนายเทพผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน        ส่วนนางศรีไม่มีความผิดใด
ข.    นายเจียงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน      นายเทพผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้นายเจียง  ส่วนนางศรีผิดฐานไม่แจ้งเหตุให้เจ้าพนักงานทราบ
ค.   นายเจียงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน      นายเทพผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้นายเจียง  ส่วนนางศรีไม่มีความผิดใด
ง.   นายเจียงผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน      นายเทพผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้นายเจียง  ส่วนนางศรีผิดฐานไม่แจ้งเหตุให้เจ้าพนักงานทราบ

30.   นายดำโกรธแค้นนายขาว ได้ลอบเข้าไปในบ้านนายขาว นายดำไม่เห็นนายขาวแต่ได้ยินเสียงนายขาวกำลังพูดโทรศัพท์อยู่ในบ้าน นายดำจึงใช้ปืนพกขนาด .357 ยิงเข้าไปในบ้านของนายขาว กระสุนปืนทะลุฝาห้องไม้สูงจากพื้น 1 เมตรเศษ ลูกกระสุนปืนไม่ถูกนายขาว แต่กระสุนปืนได้ทะลุฝาห้องอีกด้านหนึ่งไปถูกนายเขียวซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ดังนี้นายดำจะต้องรับผิดทางอาญา ต่อนายขาว และนายเขียวอย่างไร หรือไม่ (ราม)
ก.   นายดำผิดฐานพยายามฆ่านายขาว และรับผิดฐานพยายามฆ่านายเขียวโดยพลาด
ข.   นายดำผิดฐานพยายามฆ่านายขาว และไม่ต้องรับผิดฐานต่อนายเขียว
ค.   นายดำไม่ต้องรับผิดต่อนายขาว แต่รับผิดฐานพยายามฆ่านายเขียวโดยพลาด
ง.   ถูกทุกข้อ
31.    นางสาวโสภี ใช้อาวุธปืนขู่นายกล้ากับพวกมิให้เอาดินสอพองมาป้ายหน้าตน โดยนางสาวโสภีไม่รู้ว่าปืนนั้นมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ บังเอิญนิ้วมือนางสาวโสภีไปกระทบไกปืน ทำให้กระสุนปืนลั่นถูกนายกล้าถึงแก่ความตาย ดังนี้นางสาวโสภีจะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ (ราม)
ก.   นางสาวโสภีมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ข.   นางสาวโสภีมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย  แต่ได้รับการยกเว้นโทษ
ค.   นางสาวโสภีมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ง.   นางสาวโสภีไม่มีความผิด  เพราะไม่รู้องค์ประกอบของความผิด

32.   นายต้นอ้อยุให้นายกอไผ่ทำร้ายนายผักบุ้ง นายผักบุ้งเห็นนายกอไผ่เข้ามาทำร้ายตนจึงเงื้อไม้ขึ้นตีไปที่นายกอไผ่ นายต้นอ้อเห็นนายผักบุ้งกำลังใช้ไม้ตีนายกอไผ่จึงใช้มีดแทงไปที่นายผักบุ้งเพื่อช่วยเหลือนายกอไผ่ ดังนี้ นายต้นอ้อ นายกอไผ่ และนายผักบุ้ง จะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่(ราม)
ก.   นายต้นอ้อผิดเป็นผู้ใช้ และผิดฐานเจตนากระทำต่อนายผักบุ้ง โดยอ้างว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นตาม ปอ.มาตรา 67 ได้ นายกอไผ่ รับผิดฐานทำร้ายร่างกาย กรณีนายผักบุ้ง เป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความผิด
ข.   นายต้นอ้อผิดเป็นผู้ใช้ และผิดฐานเจตนากระทำต่อนายผักบุ้ง จะอ้างว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นตาม ปอ.มาตรา 67 หรือกระทำโดยป้องกันตาม ปอ.มาตรา 68 ไม่ได้ นายกอไผ่ รับผิดฐานทำร้ายร่างกาย กรณีนายผักบุ้ง เป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความผิด
ค.   นายต้นอ้อผิดเป็นผู้ใช้ และผิดฐานเจตนากระทำต่อนายผักบุ้ง โดยอ้างว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันตาม ปอ.มาตรา 68 ได้ นายกอไผ่ รับผิดฐานทำร้ายร่างกาย กรณีนายผักบุ้ง เป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความผิด
ง.   นายต้นอ้อผิดเป็นผู้ใช้ และผิดฐานเจตนากระทำต่อนายผักบุ้ง จะอ้างว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นตาม ปอ.มาตรา 67 หรือกระทำโดยป้องกันตาม ปอ.มาตรา 68 ไม่ได้ นายกอไผ่ รับผิดฐานทำร้ายร่างกาย กรณีนายผักบุ้ง ผิดฐานทะเลาะวิวาท

33.   บิดาของบุญชูถูกฆ่าตาย บุญชูต้องการที่จะฆ่าคนที่มาลอบฆ่าบิดาของตนเพื่อแก้แค้น แต่บุญชูไม่ทราบว่าใครเป็นคนฆ่าบิดาของตน สมศรีทราบดีว่าสิงห์เป็นคนฆ่าบิดาของบุญชู สมศรีจึงมาบอกให้บุญชูทราบ บุญชูทราบความจริงจากสมศรีจึงตามหาสิงห์เพื่อฆ่าให้ตาย แต่บุญชูไม่รู้จักสิงห์ ก้องซึ่งเป็นศัตรูของสิงห์อยากให้สิงห์ถูกฆ่าตาย ก้องจึงแอบบอกบุญชูว่าสิงห์เป็นใครและอยู่ที่ใด บุญชูทราบจากก้องจึงไปบ้านสิงห์และฆ่าสิงห์ตาย ดังนี้ สมศรีและก้องต้องรับผิดทางอาญาอย่างใด หรือไม่(ราม)
ก.   สมศรีไม่มีความผิด  ก้องแอบบอกบุญชูว่าสิงห์เป็นคนไหนและอยู่ที่ใดโดยที่ทราบอยู่แล้วว่าบุญชูกำลังมาตามฆ่า ก้องเป็นผู้สนับสนุนตาม ปอ. มาตรา 86 
ข.   สมศรีทราบอยู่แล้วว่าบุญชูต้องการจะฆ่าคนที่ฆ่าบิดาของบุญชู สมศรีเป็นผู้สนับสนุนตาม   ก้องแอบบอกบุญชูว่าสิงห์เป็นคนไหนและอยู่ที่ใดโดยที่ทราบอยู่แล้วว่าบุญชูกำลังมาตามฆ่า ก้องเป็นผู้ใช้ตาม ปอ. มาตรา 84 
ค.   สมศรีทราบอยู่แล้วว่าบุญชูต้องการจะฆ่าคนที่ฆ่าบิดาของบุญชู สมศรีเป็นผู้สนับสนุนตาม   ก้องแอบบอกบุญชูว่าสิงห์เป็นคนไหนและอยู่ที่ใดโดยที่ทราบอยู่แล้วว่าบุญชูกำลังมาตามฆ่า ก้องเป็นตัวการ ตามปอ. มาตรา 83 
ง.   สมศรีทราบอยู่แล้วว่าบุญชูต้องการจะฆ่าคนที่ฆ่าบิดาของบุญชู สมศรีเป็นผู้สนับสนุนตาม   ก้องแอบบอกบุญชูว่าสิงห์เป็นคนไหนและอยู่ที่ใดโดยที่ทราบอยู่แล้วว่าบุญชูกำลังมาตามฆ่า ก้องเป็นผู้สนับสนุนตาม ปอ. มาตรา 86 

34.   นายวิทยาเป็นแพทย์ ทราบว่า นายสมเดช เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล นายวิทยาต้องการฆ่านายสมเดช จึงเอายาพิษไปให้นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลเพื่อไปให้แก่นายสมเดชกิน โดยหลอกนางสาวเพ็ญศรีว่าเป็นยาบำรุงกำลัง นางสาวเพ็ญศรีหลงเชื่อเอาไปให้นายสมเดชกิน แต่นางสาวเพ็ญศรีเข้าใจว่านายวรเดชคือนายสมเดช เพราะในห้องนั้นมีคนไข้หลายคน จึงเอายาพิษซึ่งนางสาวเพ็ญศรีเข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกำลังให้นายวรเดชกิน ถึงแก่ความตาย ดังนี้ นายวิทยาและนางสาวเพ็ญศรี ต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่(ราม)
ก.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะขาดเจตนาเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นยาพิษ (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1,3)   ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
ข.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะขาดเจตนาเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นยาพิษ (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1,3)   ส่วนนายวิทยาเป็นผู้ใช้นางสาวเพ็ญศรีกระทำผิด
ค.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลรับผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่น  ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 
ง.   นางสาวเพ็ญศรีพยาบาลรับผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  ส่วนนายวิทยาเป็นผู้กระทำผิดโดยใช้นางสาวเพ็ญศรีเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ต้องรับผิดเพราะเจตนาทำให้คนตาย (ป.อ.มาตรา 59 วรรค 1, 2) และนายวิทยาจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ 

35.   นายสมพงษ์ชักปืนขู่เอาเงินจากนายผ่องและนางแหวนสามีภรรยา นางแหวนร้องเรียกให้นายหวัน ช่วย นายหวันไปช่วยนางแหวนบุตรสาว ขณะนายผ่องบุตรเขยกำลังปล้ำอยู่กับนายสมพงษ์ และนายสมพงษ์ได้ชักมีดออกแทงนายผ่อง นายหวันได้ใช้อาวุธปืนยิงไปที่นายสมพงษ์ แต่ลูกกระสุนปืนไม่ถูกนายสมพงษ์ ได้เลยไปถูกนายผ่องตาย ดังนี้ นายหวันต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ (ราม)
ก.   นายหวันมีความผิดเพราะป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
ข.   นายหวันมีความผิดฐานฆ่านายผ่องโดยพลาด
ค.   นายหวันไม่มีความผิด ป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ง.   นายหวันไม่มีความผิดเพราะเป็นผลมาจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย


36.   นายอ่องไล่ทำร้ายนายป๋อง นายป๋องวิ่งหนี นายป๋องเห็นเด็กชายแอ๊วบุตรนายอ่องยืนอยู่ จึงเข้าไปจับตัวไว้พร้อมกับบอกนายอ่องว่า ถ้านายอ่องเข้ามาจะบีบคอให้เด็กชายแอ๊วตาย นางอี๊ดมารดาเด็กชายแอ๊ว ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เห็นนายป๋องจะบีบคอเด็กชายแอ๊ว นางอี๊ดจึงใช้ไม้ตีถูกศีรษะนายป๋องแตก ดังนี้ นางอี๊ด และนายป๋องจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ (ราม)
ก.   นางอี๊ดใช้ไม้ตีศีรษะนายป๋องเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย นางอี๊ดไม่มีความผิด (ป.อ.มาตรา 68)  นายป๋องผิดต่อเสรีภาพ 
ข.   นางอี๊ดใช้ไม้ตีศีรษะนายป๋องเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย นางอี๊ดไม่มีความผิด (ป.อ.มาตรา 68)  นายป๋องกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง นายป๋องมีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ (ป.อ.มาตรา 67)
ค.   นางอี๊ดใช้ไม้ตีศีรษะนายป๋องเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เกินสมควรแก่เหตุ   นายป๋องกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง นายป๋องมีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ (ป.อ.มาตรา 67)
ง.   นางอี๊ดใช้ไม้ตีศีรษะนายป๋องเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เกินสมควรแก่เหตุ  นายป๋องผิดต่อเสรีภาพ 

37.   นายเทิ้มกับพวกร่วมกันฉุดคร่านางสาวแต๋วเพื่อประโยชน์ของนายเทิ้มที่จะทำอนาจารและ ข่มขืนกระทำชำเรา ในระหว่างที่พานางสาวแต๋วไป นายโตบิดาของนางสาวแต๋ววิ่งตามไปเพื่อขัดขวาง นายเทิ้มจึงสั่งให้นายน้อยพวกของนายเทิ้มใช้อาวุธปืนยิงนายโตถึงแก่ความตาย ดังนี้ นายเทิ้มต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ (ราม)
ก.   นายเทิ้มรับผิดฐานเป็นตัวการฆ่านายโตเพื่อให้เกิดความสะดวกในการฉุดคร่านางสาวแต๋ว เพราะนายเทิ้มร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุ และก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ถือได้ว่านายเทิ้มได้ร่วมกันยิงนายโตด้วย
ข.   นายเทิ้มรับผิดฐานเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด รับผิดเช่นตัวการ
ค.   นายเทิ้มรับผิดฐานเป็นตัวการฆ่านายโต และเป็นผู้สนับสนุนยิงนายโต
ง.   ไม่มีข้อใดถูก

38.   นายเดช เป็นนักว่ายน้ำรับจ้างทำหน้าที่เป็นครูสอนว่ายน้ำและดูแลช่วยเหลือผู้มาฝึกว่ายน้ำกับเจ้าของสระว่ายน้ำ วันหนึ่ง ด.ช.ขาวบุตรของนายโทซึ่งเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับนายเดชมาฝึกหัดว่ายน้ำในสระ ด.ช.ขาวเป็นตะคริวกำลังจะจมน้ำ นายเดชเห็นเหตุการณ์ตลอดแต่อยากให้ ด.ช.ขาวตาย จึงยืนดูอยู่เฉย ๆ ปล่อยให้ ด.ช.ขาวจมน้ำตาย ดังนี้ นายเดช จะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ (ราม)
ก.   นายเดชต้องรับผิดฐานเจตนาฆ่า ด.ช.ขาว โดยการละเว้น
ข.   นายเดชต้องรับผิดฐานเจตนาฆ่า ด.ช.ขาว โดยการงดเว้น
ค.   นายเดชไม่ต้องรับผิดใดๆ
ง.   ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 

39.   นายโชคร้าย กลุ้มใจเนื่องจากถูกไล่ออกจากงานต้องการจะฆ่าตัวตาย ได้ปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกชั้นเก้าแล้วโดดลงมาที่พื้นชั้นล่าง ปรากฏว่าในขณะนั้นนายโชคดีเดินผ่านพอดีทำให้กระแทกถูกร่างของนายโชคดีถึงแก่ความตาย ส่วนนายโชคร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้ นายโชคร้ายจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างใดหรือไม่(ราม)
ก.   นายโชคร้ายไม่ต้องรับผิดทางอาญาใดๆ
ข.   นายโชคร้ายต้องรับผิดทางอาญาฐานกระทำเป็นเหตุให้นายโชคดีถึงแก่ความตายโดยพลาด
ค.   นายโชคร้ายต้องรับผิดทางอาญาฐานกระทำเป็นเหตุให้นายโชคดีถึงแก่ความตายโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล
ง.   นายโชคร้ายต้องรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายโชคดีถึงแก่ความตาย

40.   นายเสือต้องการจะฆ่านายฮวด ได้ถือปืนไปคอยดักยิงนายฮวด นายเสือเห็น นายสิงห์บิดาของตนเองเดินมาเข้าใจผิดว่าเป็นนายฮวดจึงใช้ปืนยิงไปลูกกระสุนปืนไม่ถูกนายสิงห์แต่ลูกกระสุนปืนได้กระทบกำแพงเปลี่ยนวิถีกระสุนไปโดนนายเฮงซึ่งนั่งอ่านหนังสืออยู่ได้รับ บาดเจ็บ ดังนี้ นายเสือจะต้องรับผิดทางอาญาต่อ นายฮวด นายสิงห์ และนายเฮงอย่างใด(ราม)
ก.   นายเสือต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายสิงห์ ตามมาตรา 61 ประกอบ 80  รับผิดฐานพยายามฆ่านายเฮง ตามมาตรา 60 ประกอบ 80  รับผิดต่อนายฮวด ฐานพยายามฆ่า
ข.   นายเสือต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายสิงห์ ตามมาตรา 61 ประกอบ 80  ในฐานฆ่าบุพการี  รับผิดฐานพยายามฆ่านายเฮง ตามมาตรา 60 ประกอบ 80  ไม่ต้องรับผิดต่อนายฮวด เพราะถือว่าได้กระทำโดยเจตนาต่อนายสิงห์แล้ว
ค.   นายเสือต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายสิงห์ ตามมาตรา 61 ประกอบ 80  รับผิดฐานพยายามฆ่านายเฮง ตามมาตรา 60 ประกอบ 80  ไม่ต้องรับผิดต่อนายฮวด เพราะถือว่าได้กระทำโดยเจตนาต่อนายสิงห์แล้ว
ง.   นายเสือต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายสิงห์ ตามมาตรา 61 ประกอบ 80  แต่ไม่ต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายเฮง ตามมาตรา 60 ประกอบ 80  ไม่ต้องรับผิดต่อนายฮวด เพราะถือว่าได้กระทำโดยเจตนาต่อนายสิงห์แล้ว

41.   นายสงบไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมนายเสงี่ยม แต่ได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับเพื่อพานายเสงี่ยมไปหาผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากสงสัยว่านายเสงี่ยมจะพยายามลักทรัพย์ระหว่างทางพวกของนายเสงี่ยมเข้าแย่งเอาปืนจากนายสงบไปได้แล้ว  นายเสงี่ยมใช้มีดฟันนายสงบตาย ดังนี้ นายเสงี่ยมจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่(ราม)
ก.   นายเสงี่ยมผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่อ้างว่าได้กระทำความผิดขณะบันดาลโทสะ ตาม ปอ.มาตรา 72 ได้
ข.   นายเสงี่ยมผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่อ้างว่าได้กระทำป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ปอ.มาตรา 69 ได้
ค.   นายเสงี่ยมไม่ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะได้กระทำป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ตาม ปอ.มาตรา 68 ได้
ง.   นายเสงี่ยมผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่อ้างว่าได้กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ตาม ปอ.มาตรา 70 ได้

42.    นายสมบอกกับนายสอนว่า ถ้านายสอนไม่ฆ่านายเทิ้ม นายเทิ้มจะมาฆ่านายสอน นายสอนเมื่อทราบเช่นนั้นจึงตกลงใจที่จะฆ่านายเทิ้ม ระหว่างที่นายสอนตามหานายเทิ้มอยู่นั้น นายสอนพบนายเทิ้มแต่นายสอนไม่ทราบว่าเป็นนายเทิ้ม เพราะนายสอนไม่รู้จักว่านายเทิ้มมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นายเทิ้มเองทราบดีว่า นายสอน ตามหาตนเพื่อจะฆ่า นายเทิ้มจึงชักอาวุธปืนออกจ้องไปที่นายสอน นายสอนเห็นเข้า เข้าใจว่านายเทิ้มจะยิงตนจึงใช้อาวุธปืนยิงถูกนายเทิ้มตาย ดังนี้ นายสมและนายสอนจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ (ราม)
ก.   นายสมไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้เพราะการกระทำของนายสอนไม่เป็นความผิด ส่วนนายสอนมีความผิด แต่อ้างได้กระทำไปโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายเกินสมควรแก่เหตุ
ข.   นายสมต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้ ส่วนนายสอนมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
ค.   นายสมไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้เพราะการกระทำของนายสอนไม่เป็นความผิด ส่วนนายสอนได้กระทำไปโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปอ.มาตรา 68 จึงไม่มีความผิด
ง.   ถูกทุกข้อ
43.   นายดำหลีกเลี่ยงไม่รับหมายเรียกของศาลให้ไปเป็นพยานในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลจึงพิพากษาให้จำคุกนายดำหกเดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล ระหว่างที่จำคุกอยู่ นายดำถูกเบิกตัวไปเป็นพยานในคดีอาญาเรื่องนั้นอีก นายดำได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี นายดำจึงถูกฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ และโจทก์ขอให้ศาลเพิ่มโทษนายดำด้วยเพราะนายดำได้กระทำความผิดในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่ ดังนี้หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกนายดำหนึ่งปีในคดีเบิกความเท็จศาลจะเพิ่มโทษนายดำได้หรือไม่ และถ้าศาลเห็นสมควรรอการลงโทษนายดำศาลจะรอการลงโทษนายดำไว้หรือไม่ (เนติ 40 )
ก.   การละเมิดอำนาจศาล เป็นวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับการพิจารณาของศาล ไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญา ศาลจะเพิ่มโทษไม่ได้ แต่รอการลงโทษนายดำได้
ข.   การละเมิดอำนาจศาล เป็นวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับการพิจารณาของศาล ไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญา ศาลจะเพิ่มโทษไม่ได้ แต่รอการลงโทษนายดำไม่ได้
ค.   ศาลเพิ่มโทษนายดำได้ แต่รอการลงโทษนายดำได้
ง.   ศาลเพิ่มโทษนายดำไม่ได้ และรอการลงโทษนายดำไม่ได
44.   นายแดงมีความอาฆาตโกรธเคืองนายดำ นายแดงจึงจ้างนายขาวและนายเหลืองให้ไปชกหน้านายดำ นายขาวและนายเหลืองตกลงทำตามโดยนายขาวจะเป็นคนชกนายดำเอง ส่วนนายเหลืองรับหน้าที่ดูต้นทางใกล้ ๆ ต่อมานายขาวและนายเหลืองไปคอยดักซุ่มเพื่อทำร้ายนายดำ เมื่อนายดำเดินผ่านมานายขาวได้ตรงเข้าไปชกหน้านายดำ ปรากฏว่านายดำถูกชกมีผลทำให้ตาซ้ายบวมช้ำ ต่อมาอีกสิบวันตาที่บวมนั้นบอด ดังนี้ ให้วินิจฉัยความรับผิดชอบนายของนายขาว นายเหลือง และนายแดง
ก.   นายขาว นายเหลือง มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นอันตรายสาหัส ตาม ป.อาญา มาตรา 297 และนายแดงมีความผิดฐานผู้ใช้รับโทษเสมือนตัวการ ตาม ป.อาญา มาตรา 84
ข.   นายขาว นายเหลือง มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นอันตรายสาหัสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อาญา มาตรา 298 และนายแดงมีความผิดฐานผู้ใช้รับโทษหนึ่งในสาม ตาม ป.อาญา มาตรา 84 
ค.   นายขาว นายเหลือง มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นอันตรายสาหัส ตาม ป.อาญา มาตรา 297และนายแดงมีความผิดฐานผู้ใช้รับโทษเสมือนตัวการ ตาม ป.อาญา มาตรา 84 
ง.   นายขาว นายเหลือง มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นอันตรายสาหัสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อาญา มาตรา 298 และนายแดงมีความผิดฐานผู้ใช้รับโทษเสมือนตัวการ ตาม ป.อาญา มาตรา 84

45.   นายสิงห์เป็นหัวหน้าคนยามในโรงงานของบริษัทวัฒนา จำกัด นายเสือเป็นคนยามอยู่ในบังคับบัญชานายสิงห์ ปรากฎว่าคืนวันหนึ่งนายเสือไม่ได้อยู่ยามตามหน้าที่ รุ่งขึ้นนายสิงห์สอบถามดูแต่โดยดี นายเสือกลับพูดทำนองไม่ยำเกรงนายสิงห์ซึ่งเป็นหัวหน้า และตรงเข้าเตะต่อยนายสิงห์ทันที นายสิงห์ชกต่อยโต้ตอบไปบ้าง นายเสือเตะต่อยนายสิงห์ล้มลงไปแล้วยืนรอจะทำร้ายนายสิงห์อีก พอนายสิงห์ลุกขึ้น นายเสือได้ใช้มีดแทงนายสิงห์ 2 ที ถูกที่หน้าท้องถึงไส้ไหล ขณะที่นายเสือขยับจะแทงเอาอีก นายสิงห์จึงใช้ปืนยิง 1 นัดในระยะห่าง 1 วา กระสุนพลาดไปถูกนางขาวภรรยานายเสือซึ่งกำลังวิ่งเข้ามาจะห้ามปราม โดยกระสุนปืนถูกที่หน้าอกถึงแก่ความตายทันที ดังนี้ นายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่
ก.   นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือ และฆ่าภรรยานายเสือโดยพลาด
ข.   นายสิงห์มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายนายเสือและฆ่าภรรยานายเสือโดยพลาด
ค.   นายสิงห์ไม่มีความผิดฐานใด
ง.   นายสิงห์และนายเสือมีความผิดฐานทะเลาะวิวาท และร่วมกัน ฆ่าภรรยานายเสือโดยพลาด

46.   นายแขกเป็นคนงานก่อสร้าง คืนวันเกิดเหตุนายแขกได้ร่วมกับเพื่อนคนงานอีกหลายคนลักลอบเล่นการพนันไฮโลในเรือนพักชั่วคราวของคนงานก่อสร้าง พลตำรวจเดชกับพวกได้รับแจ้งเรื่องลักลอบเล่นการพนันดังกล่าวจึงได้ไปทำการจับกุม ครั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกรูเข้าไปในเรือนพักที่มีการเล่นการพนันเพื่อทำการจับกุม นายแขกได้ดับไฟฟ้าในเรือนพักนั้น เป็นเหตุให้ผู้ลักลอบเล่นการพนันต่างหลบหนีจากการจับกุมไปได้ทั้งหมด พลตำรวจเดชได้วิ่งไล่จับนายแขกอย่างไม่ลดละ นายแขกเห็นท่าไม่ดี จึงยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อขู่พลตำรวจเดชมิให้ติดตามจับกุมตนต่อไป ดังนี้ นายแขกจะมีความผิดฐานใดบ้างหรือไม่
ก.   การดับไฟฟ้า และยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อขู่พลตำรวจเดช เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย 
ข.   การดับไฟฟ้า เพียงแต่ให้ตำรวจทำงานไม่สะดวก นายแขกไม่ผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่การที่นายแขก ยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อขู่พลตำรวจเดช มีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย 
ค.   การดับไฟฟ้า และ ยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อขู่พลตำรวจเดช เป็นเพียงแต่ให้ตำรวจทำงานไม่สะดวก นายแขกไม่ผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน 
ง.   การดับไฟฟ้า เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่การที่นายแขก มีความผิดฐานยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อขู่พลตำรวจเดช ไม่เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงาน

47.   นายเอกถูกฟ้องหาว่าฆ่าผู้อื่น นายโทเป็นเพื่อนรักของนายเอกต้องการช่วยเหลือนายเอกให้พ้นคดี จึงเข้าเบิกความเป็นพยานจำเลยโดยอ้างว่าตนเองเป็นนายตรีและเบิกความว่า วันเวลาเกิดเหตุ เห็นนายเอกกำลังดำนาอยู่กับภริยา พยานได้ทักทายพูดคุยกับนายเอกด้วย ซึ่งเป็นความเท็จทั้งสิ้นเมื่อเบิกความเสร็จแล้วนายโทก็ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การพยานว่านายตรีตรงช่องพยาน ดังนี้ นายโทมีความผิดฐานใดหรือไม่
ก.   นายโทมีความผิดฐานปลอมเอกสาร , เบิกความเท็จ และ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้เจ้าพนักงานจดลงในเอกสาร ตาม ป.อาญา มาตรา 264 , 267 
ข.   นายโทมีความผิดฐานปลอมเอกสาร และ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้เจ้าพนักงานจดลงในเอกสาร ตาม ป.อาญา มาตรา 264 , 267 
ค.   นายโทมีความผิดฐานปลอมเอกสาร , เบิกความเท็จ ตาม ป.อาญา มาตรา 264 , 267 
ง.   นายโทมีความผิดฐานเบิกความเท็จ และ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้เจ้าพนักงานจดลงในเอกสาร ตาม ป.อาญา มาตรา 264 , 267

48.   นายอบกับนายอ้วนชวนนางสาวเอี้ยงไปเที่ยวงานวัด ครั้นถึงที่เปลี่ยวนายอบกับนายอ้วนฉุดนางสาวเอี้ยงเข้าไปที่ป่าข้างทาง นายอบข่มขืนกระทำชำเรานางสาวเอี้ยงจนสำเร็จความใคร่โดยนายอ้วนกอดจูบและจับนางสาวเอี้ยงให้นายอบข่มขืนกระทำชำเรา ขณะที่นายอ้วนถอดเสื้อผ้าจนเหลือกางเกงในตัวเดียว จะลงมือช่มขืนกระทำชำเรานางสาวเอี้ยงต่อจากนายอบ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนทั้งสองได้ ดังนี้ นายอบกับนายอ้วนมีความผิดฐานใดบ้าง
ก.   นายอบกับนายอ้วนมีความผิดฐานร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังฯ และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนในลักษณะโทรมหญิงตาม ป.อาญา มาตรา 284 ,276 ,83
ข.   นายอบกับนายอ้วนมีความผิดฐานร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังฯ และนายอบผิดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตน ตาม ป.อาญา มาตรา 284 ,276 ,83
ค.   นายอบกับนายอ้วนมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตน ตาม ป.อาญา มาตรา 276 ,83
ง.   นายอบกับนายอ้วนมีความผิดฐานร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังฯ และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตน ตาม ป.อาญา มาตรา 284 ,276 ,83

49.   นายสินทให้นายเสนอเช่าที่นาและโรงนา นายเสนอค้างชำระค่าเช่า 3 ปีติด ๆ กัน นายสนิทต้องการขับไล่นายเสนอออกจากที่นาที่ให้เช่า จึงนำรถไถเข้าไปไถและหว่านข้าวในที่นานั้น ส่วนนายสนมบุตรชายนายสนิทก็ไปยืนหน้าโรงนาห้ามมิให้นายเสนอออกมาจากโรงนาขณะที่นายสนิทไถหว่านข้าวดังกล่าว ดังนี้ นายสนิทและนายสนมจะมีความผิดฐานใดบ้างหรือไม่
ก.   นายสนิทและนายสนมมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุก 
ข.   นายสนิทและนายสนมมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุก , ทำเสียทรัพย์ 
ค.   นายสนิทและนายสนมมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุก , ทำเสียทรัพย์ และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ง.   นายสนิทและนายสนมไม่มีความผิด

50.   นายเอกมีนางสุดาเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฏหมายอยู่แล้ว ต่อมาได้นางรสรินเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หลังจากนั้นนายเอกไปมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับนางสาวนารีซึ่งเป็นข้าราชการ นางรสรินมีความหึงหวงจึงไปต่อว่านางสาวนารี และว่าจะฟ้องต่อทางราชการให้ลงโทษนางสาวนารีฐานประพฤติตนไม่เหมะสมเป็นการผิดวินัย โดยกล่าวต่อหน้านายพิเศษว่า “คุณเป็นข้าราชการจะมาแย่งผัวฉัน ดูซิว่าจะมีผิดไหม” ดังนี้ นางรสรินจะมีความผิดฐานใดหรือไม่
ก.   มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า  
ข.   มีความผิดฐาน  หมิ่นประมาท
ค.   มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า  หมิ่นประมาท
ง.   ไม่มีความผิด



เฉลย


1.   ก   2.   ค   3.   ค   4.   ง   5.   ค   6.   ก   7.   ง   8.   ข   9.   ก   10.   ง
11.   ค   12.   ก   13.   ง   14.   ง   15.   ก   16.   ข   17.   ค   18.   ข   19.   ง   20.   ง
21.   ข   22.   ค   23.   ก   24.   ง   25.   ค   26.   ก   27.   ง   28.   ก   29.   ค   30.   ก
31.   ค   32.   ข   33.   ง   34.   ก   35.   ง   36.   ข   37.   ก   38.   ข   39.   ง   40.   ค
41.   ก   42.   ค   43.   ก   44.   ค   45.   ค   46.   ข   47.   ค   48.   ง   49.   ก   50.